Monthly Archives: ธันวาคม 2012

ปฏิจจสมุปบาท

null

ชีวิตมนุษย์เราทุกวันนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ เพราะใจของมนุษย์เต็มไปด้วยความอยาก ซึ่งอยู่ในโลกของความหลง คือ สุขเวทนาและทุกขเวทนา ที่วิ่งพล่านไปตามความพอใจ และไม่พอใจ ดังนั้นมนุษย์จึงเร่าร้อนดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ความอยากของตนเต็ม แต่ก็หามีใครทำให้ ความอยากเต็มได้ไม่ยิ่งแสวงหาความเร่าร้อนจากการแสวงหาก็จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ความทุกข์ก็ เกิดตามขึ้นมาตลอด ไร้ความพอ หาความเต็มมิได้ เพราะจิตของมนุษย์ถูก อวิชชาครอบงำ ความ พร่องจึงมีอยู่ในจิตของมนุษย์ตลอดเวลาอยู่เป็นนิตย์

พระองค์ทรงตรัสว่าทุกข์กำเนิดอยู่ปัจจุบัน ไม่ควรไปคิดเรื่องที่แล้วมา ทุกข์ที่ยังมา ไม่ถึงไม่ควรไปถามหาทุกข์ ผู้ข้องอยู่ด้วยความไม่รู้ หลง ย่อมจะถามว่าวิญญาณมา จากไหน เกิดเมื่อไร ใครเป็นผู้สร้าง พระองค์ทรงตรัสว่าคนกำลังถูกลูกศรยิงบาดเจ็บ อยู่ขณะนี้ กำลังรอ ความช่วยเหลือจากหมอ หมอจะถามผู้ป่วยว่าลูกศรนั้นถูกยิง ตั้งแต่เมื่อไร เวลาเท่าไรและที่ไหน คนยิงคือใครและต้องหาคนยิงมาก่อน จึงจะแก้ไขวางยาให้ถูกและถอนลูกศรออกได้ การแก้ไข ของหมอจะแก้ไขได้หรือ คนไข้จะต้องตาย แน่นอน ฉะนั้นทุกข์ของกายใจเกิดขึ้นตอนปัจจุบัน เราไม่ไปถามหาอดีต เสียเวลา เราควรแก้ทุกข์กันเดี๋ยวนี้คือปัจจุบันที่เราเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราควรจะปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้วิธีดับทุกข์กันในวันนี้เลย ไม่ต้องรอช้านาน เพื่อเห็นความเกิด แก่เจ็บตาย โดยเร็วพลัน

การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีตัวกฎหรือสภาวะ ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้า แสดงหลักธรรมชาติ ธรรมหมวดหนึ่งหรือหลักความจริงซึ่งเป็นเรื่องปิดไว้ พระองค์ มาตรัสรู้ความจริง ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แล้วใช้ปัญญาค้นโดยรู้จัก ธรรมชาติที่แท้จริง สิ่งเหล่านี้เกิดมาก่อน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์และหมุ่พระพุทธเจ้า ไม่มีผู้เกิดทันรู้ไม่ เพราะว่ารูปนามนี้เกิดมานาน ไม่สามารถจะ คำนวณกาลเวลาได้ แต่พระองค์ตรัสรู้ด้วยปัญญาสมาธิญาณ ยิ่งรู้ละเอียดลึกซึ้ง สุดที่สัตว์ปุถุชนจะหยั่ง รู้ธรรมชาติได้แท้จริงดังปัญญาของพระพุทธเจ้าได้ จึงเป็นพยานของธรรม ทรงกล้าตอบปัญหาแก่สมณ พราหมณ์ที่มีปัญหาได้อย่างสง่าผ่าเผยโดยเชื่อแน่ว่า หลักธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของจริง พิสูจน์ ได้โดยการปฏิบัติ มีในแนวทาง ของพระองค์ตรัสรู้เท่านั้น จะพิสูจน์ได้ทางบรรลุธรรมจิตอย่างแท้จริง พระองค์ ทรงตรัสว่าเพราะมีอวิชชา จึงมีสังขาร ฯลฯ

” ภิกษุทั้งหลาย ? ตถตา ( ภาวะที่เป็นของมันอย่างนั้น ) อวิตถตา ( ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปได้) อนัญญถตา ( ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น ) คือหลักอิทัปปัจจยตาดังกล่าว มานี้แลเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ” พระองค์ทรงกล่าวว่าสมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ได้สามารถรู้ธรรมเหล่านี้ได้ รู้จักเกิดรู้จักดับของ ธรรม รู้จักดำเนินตาม ธรรมชาติเหล่านี้ ฯลฯ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญญา อันยิ่ง บรรลุประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

ดังที่กล่าวในพระไตรปิฎก พระอานนท์ได้กราบทูลพระองค์ว่า
” น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีมาเลย ไม่เคยได้ยินเลย ไม่เคยได้เห็นเลย เป็นบุญตา เป็นบุญใจ เป็นบุญหูจริงที่ได้เกิดมารู้เห็นความจริงที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา ช่าง ไพเราะลึกซึ้งละเอียดอ่อนสุขุม คัมภีรภาพและเข้าใจง่ายซาบซึ้งได้แจ่มแจ้ง ดุจของ คว่ำปิดอยู่เป็นความลับ แต่พระองค์มาจับหงายอย่างง่าย ให้คนอื่นได้เห็นตามรู้เห็น ตามธรรมที่ยากมาทำให้ง่ายอัศจรรย์จริงหนอ ของยากพระองค์มาทำให้เป็นของง่าย”

พระองค์ทรงตรัสว่า
” อานนท์ อย่ากลัวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง เป็นของรู้ยาก บุคคลไม่เข้าใจ ไม่รู้ ไม่แทงตลอดในธรรมนี้แหละ หมู่สัตว์จึงพากันวุ่นวายกันไม่รู้ จักจบสิ้นไป ความวุ่นวายยุ่งยากเปรียบ เหมือนเส้นด้ายที่ขอดเข้าหากันจนยุ่งเป็น ปุ่มเป็นปมเหมือนกับหญ้าคาหญ้าปล้องนี่แหละอานนท์หมู่สัตว์จึง วุ่นวายดิ้นรน เดือดร้อนกันมากจึงผ่านพ้นอบายทุคติวินิบาต (นรก) สังสารวัฏไปไม่ได้ ”

” ดุก่อนอานนท์ พระองค์ขอเตือนว่าอย่าประมาท ธรรมที่เราบรรลุแล้วเป็นของรู้ได้ยาก หมุ่ ประชาชนเป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยความอาลัย ระเริงอยู่ในอาลัยอาวรณ์ ผู้หลง อยู่ในรื่นเริงอาลัยอาวรณ์ ด้วยความประมาทอย่างนี้ ฐานะอย่างนี้เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสุปบาท เห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ความสงบของ สังขารทั้งปวง ความสงัด ” กิเลส ” อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน พระองค์ทรงดำริเป็นการสอนที่เหนื่อยเปล่า ลำบากแก่พระองค์ผู้แสดง เพราะมีแต่ผู้ประมาท อยู่ ผู้หลงตัวตนอาลัยอาวรณ์อยู่ ”

” อานนท์ จงรู้เถิดว่าธรรมที่เรากล่าวนั้นง่ายสำหรับผู้มีปัญญา ไม่หลงตัวตนอาลัยอาวรณ์ หลงตัวเพลิดเพลิน ผู้นั้นจึงรู้ว่าธรรมของพระองค์ง่าย ฟังแล้วไพเราะลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนลุ่มลึก แต่ก็ยากสำหรับคนประชาชนผู้หลงใหลในตัวตน อยุ่ในความ ประมาทลุ่มหลง จึงรู้ธรรมปฏิจจสมุปบาทได้ยาก เป็นของที่เข้าไม่ถึงธรรมอันนี้ เลยตลอดชีวิตของเขาเหล่านั้นเพราะความมีตัวตน อาลัยอาวรณ์สนุกเพลิดเพลินอยู่ ”

หลักปฏิจจสมุปบาทมี 2 นัย นัยหนึ่งคือจากอวิชชา จึงมีสังขาร นัยหนึ่งคือความเกิด ของธรรมชาติ นัยที่สองคือการตรัสรู้ธรรมของธรรมชาติคือความดับ ตอนต้นแสดง ความเกิดของสมุทัย ( ตัณหา ) ตอนท้ายแสดงถึงการตรัสรู้ธรรมคือ นิโรธวาร อนุโลมปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท

องค์ประกอบ 12 ข้อของปฏิจจสมุปบาทนั้น นับตั้งแต่อวิชชา ถึง ชรามรณะเท่านั้น ( คือ อวิชชา สังขาร>วิญญาณ>นามรูป>สฬาตนะ>ผัสสะ>เวทนา>ตัณหา>อุปาทาน> ภพ>ชาติ>ชรามรณะ ) ส่วนโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นเพียงตัวพลอยผสม เกิดแก่ผู้มีอาสวกิเลสเมื่อมีชรามรณะแล้ว เป็นตัวการหมักหมม อาสวะซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาหมุนวงจรต่อไปอีก
ในการแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบประยุกต์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสตามลำดับ และเต็มรูป อย่างนี้ ( คือชักต้นไปหาปลาย ) เสมอไป การแสดงในลำดับและเต็มรูปเช่นนี้ มักตรัส ในกรณีเป็นการแสดงตัวหลัก แต่ในทางปฏิบัติซึ่งเป็นการเริ่มต้นด้วยข้อปัญหามัก ตรัสในรูปย้อนลำดับ ( คือชักปลายมาหาต้น ) เป็น( ชรามรณะ< ชาติ < ภพ < อุปาทาน < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตน < นามรูป < วิญญาณ <สังขาร< อวิชชา )

ส่วนประกอบความทะยานอยากของคนเรา
อาศัย ความพอใจ จึงเกิด ความอยาก
อาศัย ความอยาก จึงเกิด การแสวงหา
อาศัย การแสวงหา จึงเกิด ลาภ
อาศัย ลาภ จึงเกิด การตกลงใจ
อาศัย การตกลงใจ จึงเกิด ความรักใคร่ผูกพัน
อาศัย ความรักใคร่ผูกพัน จึงเกิด การพะวง
อาศัย การพะวง จึงเกิด การยึดถือ
อาศัย การยึดถือ จึงเกิด ความตระหนี่
อาศัย ความตระหนี่ จึงเกิด การป้องกัน
อาศัย การป้องกัน จึงเกิด อกุศลธรรม

กุศลธรรม – อกุศลธรรม
( จิตที่ฉลาด มีปัญญา มีเหตุผล สงบเย็น – จิตที่ไม่ฉลาด ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัวฟุ้งซ่าน )
การกระทำอันเป็นบาป เช่น การฆ่ากัน, การทะเลาะกัน, การแก่งแย่ง, การว่ากล่าว, การพูดส่อเสียด, การพูดเท็จเป็นต้น จิตของคนเราถูกอวิชชาครอบงำ ผูกต่อกัน เป็นลูกโซ่ของความอยาก พร่องอยู่เป็นนิตย์

ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกนี้ หาทางดับความพอใจละความทะยานอยากซึ่งเป็นสันดานที่นอนเนื่อง อยู่ภายในจิตของตนเอง โดยวิธีการศึกษาเรื่องของปฏิจจสมุปบาท อันเป็นธรรมวิชชา ของพระพุทธเจ้า เป็นตัวดับอกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งอกุศลธรรมเป็นปัจจัยให้มนุษย์ เราตกอยู่ในกองทุกข์ที่เร่าร้อนก็จะดับ ความสงบใจ ความอิ่มใจ ความพอดีก็จะเกิดขึ้น ภายในจิตของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม

ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมสัจจะที่จำเป็นสำหรับพุทธบริษัทที่จะต้องศึกษา เพราะปฏิจจสมุปบาท คือแนวทางที่จะเรียนรู้เข้าใจถึงสภาพจิตของมนุษย์เราด้วยการ ปฏิบัติธรรม คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยการใช้สติปัญญาพิจารณากาย , เวทนา, จิต, ธรรม เพื่อให้รู้ทุกข์ ให้รู้เหตุเกิดของทุกข์ ให้รู้การดับทุกข์ ให้รู้ปฏิปทาที่ จะให้ถึงความดับทุกข์ได้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรมจนเกิดวิชชา เพราะวิชชาเกิด อวิชชาจจึงดับ

ปฎิจจสมุปบาท แยกออกเป็นหลายรูปแบบหลายนัย เมื่อแจงออกมาแล้วทำให้ ผู้ปฎิบัติเกิดความเข้าใจ จนเกิดปํญญาเป็นวิชาขึ้นมาได้ โดยการปฎิบัติไปตามวงจร ของปฎิจจสมุทปบาท คือ เข้าสู่การดับเป็นขั้นตอน ไปจนเกิดวิชารู้แจ้งในสังสารวัฎ หายสงสัยในเรื่อง การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย จนเกิดญาณปัญญา รู้ทุกข์ เห็น ทุกข์เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ของความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เข้าใจจน พาตัวเองออกจากวงจรของปฎิจจสมุปบาทได้ สามารถดับกิเลส ตัณหา อุปทานได้หมด จนถึงมรรค4 ผล4 นิพาน1 คือ เข้าถึงการดับ เป็นอรหัตตมรรค อรหัตตผล เข้าสู่ นิพานอันเป็นยอดแห่งคุณธรรมของเทวดา และมนุษย์

พระพุทธเจ้า
ทรงรู้ว่า “อวิชชา” คือ ตัวตัวเหตุของความทุกข์ อวิชชา คือจิตที่ไม่รู้จิตในจิต ตัวเองหลงจิตจึงจึงทรงใช้มรรคอริยสัจ คือ ตัวรู้ ตัววิชชา(วิชชา คือจิตที่รู้จิต) เข้าประหารอนุสัยที่นอนเนื่องในสันดาน จนพระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในโลกทั้ง สาม รู้จักตัวตนว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงรูปธาตุ นามธาตุ

อวิชาจึงดับด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ทรงเข้าถึงการดับโดยแท้จริง ดับสภาพ ปรุงแต่งของสังขารด้วยมรรคสัจ ทรงประหารอวิชชา ทรงพ้นจากบ่วงของการเกิด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง จนเป็นวิชา เป็นแสงแห่ง คุณธรรมที่สว่างอยู่ในจิตใจของผู้ปฎิบัติ โลกของผู้ปฎิบัติจึงสงบร่มเย็นอยู่จนปัจจุบันนี้

วิชชาของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดับทุกข์ เป็นยาดับโรคของความอยากซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ของความหลงในวัฎฎสังสารของมนุษย์

การเกิดของปฎิจจสมุปบาท
สาเหตุของการเกิดปฏิจจสมุปบาทเพราะว่า
อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ
ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส
ความเกิดของกองทุกข์ทั้งหมดนี้เรียกว่า ” ปฏิจจสมุปบาท ”
ปฏิจจสมุปบาทจะดับได้เพราะ
อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท
องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท
เพราะการหมุนเวียนของวัฏชีวิตที่มีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หมุนเวียนไปตามองค์ประกอบ ของการเกิด หาจุจบไม่ได้และไม่สามารถหาต้นเหตุได้ว่าอะไร คือ ต้นเหตุของการเกิด และอะไร คือ ปลายเหตุของการดับ เริ่มจากอดดีตสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันสู่อนาตค อนาคตกลับมาเป็นอดีต อดีตมาเป็นปัจจุบัน ประดุจห่วงของลูกโซ่ที่ผูกต่อกันไปหาที่สุดมิได้ เรียกว่า เป็นวงจรของปฏิจจสมุปบาท หรือ บาทฐานการเกิดของกองทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย :-

1. อวิชชา
คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงในความทุกข์ของจิต ไม่รู้ในเหตุให้เกิดแห่งความทุกข์ไม่รู้ในการดับ ทุกข์ไม่รู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อวิชชาเป็นจิตที่ไม่รู้จิตในจิต
เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร

2. สังขาร
คือ การปรุงแต่งของจิตให้เกิดหน้าที่
ทางกาย – เรียกกายสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกายให้เกิดลมหายใจเข้าออก
ทางวาจา – เรียกวจีสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจาให้เกิดวิตกวิจาร
ทางใจ – เรียกจิตสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญญา เวทนา สุข ทุกข์ทางใจ
เพราะการปรุงแต่งของจิตหรือสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ

3. วิญญาณ
คือ การรับรู้ในอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง 6 คือ
ทางตา – จักขุวิญญาณ
ทางเสียง – โสตวิญญาณ
ทางจมูก – ฆานวิญญาณ
ทางลิ้น – ชิวหาวิญญาณ
ทางกาย – กายวิญญาณ
ทางใจ – มโนวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

4. นามรูป
นาม คือ จิตหรือความนึกคิด ในรูปกายนี้ เป็นของละเอียดได้แก่
เวทนา คือ ความรู้สึกเสวยในอารมณ์ต่างๆ
สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จดจำในเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้งดีและไม่ดีดังแต่อดีต
เจตนา คือ ความตั้งใจ การทำทุกอย่างทั้งดีและชั่ว
ผัสสะ คือ การกระทบทางจิต
มนสิการ คือ การน้อมจิตเข้าสู่การพิจารณา
รูป คือ รูปร่างกายที่สัมผัสได้ทางตา เป็นของหยาบ ได้แก่ มหาภูตรูป 4 คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม
เพราะนามรูปเกิด จึงเป้นปัจจัยให้มีสฬายตนะ คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

5. สฬาตนะ
คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกันทางวิถีประสาทด้วยอายตนะทั้ง 6 มี
ตา – จักขายตนะ หู – โสตายตนะ
จมูก – ฆานายตนะ ลิ้น – ชิวหายตนะ
กาย – กายายตนะ ใจ – มนายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

6. ผัสสะ
คือ การกระทบกับสิ่งที่เห็นรู้ทุกทวารทั้งดีและไม่ดี เช่น
จักขุผัสสะ – สัมผัสทางตา โสตผัสสะ – สัมผัสทางเสียง
ฆานผัสสะ – สัมผัสทางจมูก ชิวหาผัสสะ – สัมผัสทางลิ้น
กายผัสสะ – สัมผัสทางกาย มโนผัสสะ – สัมผัสทางใจ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

7. เวทนา
คือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์พอใจ, ไม่พอใจและอารมณ์ที่เป็นกลางกับสิ่งที่มากระทบพบมาได้แก่
จักขุสัมผัสสชาเวทนา – ตา โสตสัมผัสสชาเวทนา – เสียง
ฆานสัมผัสสชาเวทนา – จมูก ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา – ลิ้น
กายสัมผัสสชาเวทนา – กาย มโนสัมผัสสชาเวทนา – ใจ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องรับของความรู้สึกต่างๆ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

8. ตัณหา
คือ ความทะยานอยาก พอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่เห็นรู้ใน
รูป – รุปตัณหา เสียง – สัททตัณหา
กลิ่น – คันธตัณหา รส – รสตัณหา
กาย – โผฎฐัพพตัณหา ธรรมารมณ์ – ธัมมตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

9. อุปาทาน
คือ ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ และที่เกิดขึ้นในขัน 5 มี 4 เหล่า คือ
กามุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในวัตถุกาม
ทิฎฐุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในการเห็นผิด
สีลัพพตุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในการปฎิบัติผิด
อัตตวาทุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนในขันธ์ 5
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

10. ภพ
คือ จิตที่มีตัณหาปรุงแต่ง เกิดอยู่ในจิตปุถุชนผู้หนาแน่นในตัณหา 3 เจตจำนงในการเกิดใหม่ ความกระหายในความเป็น เพราะยึดติดในรูปในสิ่งที่ตนเองเคยเป็น มี 3 ภพ คือ
กามภพ – ภพมนุษย์, สัตว์เดรัจฉาน, เทวดา
รูปภพ – พรหมที่มีรูป
อรูปภพ – พรหมที่ไม่มีรูป
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

11. ชาติ
คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ได้แก่ จิตที่ผูกพันกันมากๆจึงเกิดการสมสู่กัน อย่างสม่ำเสมอ จนปรากฎแห่งขันธ์ แห่งอายตนะในหมู่สัตว์
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกปริเทวะทุกขโทมมัส อุปายาส มีความเศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้อาลัย อาวรณ์

12. ชรา มรณะ
ชรา คือ ความแก่ ภาวะของผมหงอก ฟันหลุด หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ของอินทรีย์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์อยู่ในตัว
มรณะ คือ ความเคลื่อน ความทำลาย ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์

บ่อเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะอวิชา ดั่งพืชเมื่อเกิดเป็นต้นไม้แล้ว มีราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นลำดับไป ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นเกิดมาแต่ครั้งไหน ดั่งรูปนาม ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นคือ ” อวิชชา” เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เพราะ เกิดการผูกต่อกันมาเป็นลำดับ เกิดเป็นปฎิจจสมุปบาทขึ้นมา
ปุถุชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้บ้าง เป็นการดับชั่วขณะจึงต้องเกิดอีก เพราะ ตัววิชชายังไม่แจ้งในขันธ์ 5
ส่วนตัวอริยชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้สนิท เพราะดับได้ด้วยวิชชาจึงไม่ต้องเกิดอีก เป็นการดับไม่เหลือเชื้อ เพราะวิชชาแจ้งในขันธ์ 5 พ้นจากการเกิด เปรียบเหมือนไฟ ที่สิ้นเชื้อดับไปแล้ว

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ

http://www.vimokkha.com

กรรมที่หนีไม่พ้น

null

จิตเป็นผู้ให้จิตเป็นผู้ได้ แต่กายเป็นเครื่องมือ ถ้าเราทำสมาธิชั้นสูงได้ ตายก็ไปเป็นพรหม ก็แสดงว่าได้จากจิต ถ้าเราทำไม่ถึงพรหมก็เป็นเทวดา นี่ก็ไปจากจิต ไปได้กินอาหารทิพย์ นี่มาจากจิต ถ้าหากเราทำได้สูงสุด ไม่ติดกายก็ไปถึงนิพพาน ถือว่าพ้นทุกข์ได้ ก็ไปจากจิต จิตทั้งนั้นแหละ กายนี้เป็นบ่าว คนที่เกิดมาบ้า ใบ้ หูหนวก ตาบอด พิกลพิการ พลัดที่นาคาที่อยู่ มีปัญหาก็มาจากจิตทั้งนั้นแหละ จิตคือผู้สร้างมา วิบากคือผลที่มันมาให้กับกาย แต่เราไปโทษปัจจุบันของโลกนี้ ไม่โทษว่าจิตเป็นผู้ห่อสิ่งเหล่านี้มาขยายผล มาเพาะพันธุ์ เพาะเชื้อ แต่พระพุทธเจ้าท่านค้นพบแล้ว ว่าจิตมี ๒ กรรม คือ กรรมดีกับกรรมชั่ว แล้วก็มาละกรรมดีกรรมชั่วก็มาเป็นพระพุทธเจ้า ที่จริงมนุษย์ได้มา ๒ กรรม แต่ยังมีกรรมพิเศษที่มนุษย์ได้มาอีกคือ กัมมะพันธุ กรรมเป็นเพราะเผ่าพันธุ์พวกพ้องพี่น้อง มาให้ผลกับพี่น้องตัวเอง กับครอบครัวตัวเองอีก นั่นก็เรียกว่ากัมมะพันธุ มาให้ผลคล้ายๆ กัน มีนิสัยก็เหมือนกัน สายเลือดเหมือนกัน มี DNA เหมือนกัน เป็นกรรมแยกกันไม่ออกเลยสายพันธุ์เหมือนกัน หน้าตาคล้ายกัน จิตใจคล้ายๆ กัน วิบากกรรมคล้ายกัน เพราะเป็นเรื่องของกัมมะพันธุ

แต่ที่จริงก็มาจากจิตนั่นเอง เหมือนอย่างคนที่ถูกเผาบ้าน ถูกเผาเมือง พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เป็นกรรมที่หนีไม่พ้นเพราะเคยฆ่าสัตว์ร่วมกันมาทั้งเมืองพวกเบื่อปลา หาปลากินกันตลอดชีวิต โดยที่ไม่ยอมแก้กรรมเลย พอกรรมนั้นมาให้ผลในชาตินี้ก็ ๕๐๐ ชาติ ต้องโดนฆ่าตาย โดนเผาบ้านอะไรอย่างนี้ นั่นเป็นเพราะกัมมะพันธุตามมา มาเป็นกับญาติพี่น้องของตัวเองหมดเลย เรียกว่าเป็นกรรมที่ยังใช้ไม่หมด

ยิ่งคนสมัยนี้ยิ่งสร้างกรรมมากใหญ่เลย เพราะว่าอาชีพฆ่าสัตว์มาก ทำบาปมาก สมัยก่อนแค่ต้มเหล้ากิน ขายก็แค่หมู่บ้านเดียว แต่สมัยนี้ต้มขายทั่วโลกเลย ทำบุหรี่แค่หั่นยาสูบกันเอง แต่เดี๋ยวนี้มอมเมากันไปทั่วโลกเลย เปิดบ่อนก็แค่เล่นบ้านเดียว เดี๋ยวนี้เปิดบ่อนเล่นทั่วโลกเลย ใช่ไหม? เดี๋ยวนี้คนทำกรรมมาก ฆ่าสัตว์ก็ฆ่าแค่กินตัวเดียว ทั้งหมู่บ้านก็กินกันแค่ตัวเดียว แต่เดี๋ยวนี้วันหนึ่งฆ่าเป็นล้านๆ ชีวิต ปลาก็จับแค่ปลาที่มาตามหนองตามบึงกินกัน แต่สมัยนี้เลี้ยงขายกัน เลี้ยงฆ่ากันอย่างหนักเลย กุ้ง ปลา หมู เป็ด ไก่ คนสมัยนี้โอกาสทำบาปมากกว่าสมัยพระพุทธเจ้า ใช่ไหม? สมัยก่อนปืนผา หน้าไม้ ก็ไม่มี ใช่ไหม? จะฆ่ากันก็เอาอาวุธไปฆ่ากันแค่ตัวต่อตัวสมัยนี้เอาระเบิด ไปบอมส์ บึ๊ม!! แล้วคนที่ไม่รู้เรื่องด้วยก็ตายหมดเลย คนสมัยนี้จะทำบาปแรง ทำบุญก็ทำได้มาก เพราะว่าคนสมัยนี้ทำบุญก็ทำได้ข้ามโลกเลย อยู่เมืองไทยไปทำบุญที่อเมริกาก็ได้อยู่อเมริกามาทำบุญที่เมืองไทยก็ได้ มีเสื้อผ้า หยูกยารักษาโรค ส่งไปประเทศโน้นประเทศนี้ช่วยได้หมดเลย ฉะนั้นมนุษย์นี้มีโอกาสทำอะไรได้รุนแรงกว่าสมัยพระพุทธเจ้า จะเผยแพร่ก็เผยแพร่ได้เร็ว สมัยก่อนก็แค่บอกปากต่อปาก สมัยนี้ออกโทรทัศน์ ออกวิทยุ ออกหนังสือพิมพ์เผยแพร่ ฉะนั้นจึงว่าเป็นกัมมะพันธุ ทำไมคนจึงมาเกิดตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สองเพราะเป็นกัมมะพันธุ เพราะชวนกันทำบาปเยอะ ใช่ไหม? แล้วจะยิ่งทำกันอีกเท่าไรนี่ยิ่งหาอะไรพิเศษได้ เหมือนสมัยก่อนนี้ก็หากันแค่ มีสุ่ม มียอ มีแห ใช้มือจับ สมัยนี้ใช้เรด้าจับเลย เรือไทยเรือต่างประเทศปลาอยู่ตรงไหนรู้หมดเลย ใช้เรด้าจับหมดเลย ร้ายกาจมากเลย แล้วก็เป็นเรื่องสนุกสนาน เป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเรื่องที่คนต้องยึดอาชีพนี้จึงจะอยู่ได้ ต้องส่งออกนอกเพื่อจะมาเลี้ยงคน ถ้าไม่อย่างนั้นกำไรไม่มี ร่วมทำบาปกันทั้งประเทศเลยนะ

แสดงธรรมที่ วัดเขายายแสง วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๒
โดยหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
http://www.vimokkha.com

เตรียมใจไว้ก่อน

null
นั่งตามสบาย นั่งสมาธิฟังธรรมก็ได้ นั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางลงบนมือซ้าย หัวแม่มือชนกัน หายใจให้สบาย หายใจลึกๆ สักสามสี่ครั้ง ก็ปล่อยลมให้สบาย จับลมหายใจเข้าออกไว้ที่สองช่องจมูก หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ ภาวนาอะไรก็ได้ที่เราได้ศึกษาหรือปฏิบัติมา ตามแต่ครูบาอาจารย์แนะนำ ถ้าไม่มีอะไรเราก็ดูลมหายใจของเราดูใจของเรา การที่เราได้มาวัด มาตักบาตรทำบุญ มารักษาศีล เจริญภาวนาให้ใจของเราสงบ หรือว่าให้ใจของเรามีความว่างจากภาระหน้าที่การงาน ซึ่งเป็นภาระที่เรามีอยู่ ที่เราห่วงเรากังวล เราต้องการมาวัดเพื่อจะทำใจของเราให้สงบ เพื่อปล่อยวางความวุ่นวายต่างๆ เรื่องของปัญหาหัวใจ ถึงปัญหาของเราจะมีไม่มาก แต่ทุกคนก็มีปัญหา ที่จะต้องทำอยู่ทุกวัน แก้อยู่ทุกวัน อย่างน้อยปัญหาตัวเรา ปัญหาเดิน ปัญหานั่ง ปัญหานอน ปัญหาของความนึกคิด ปัญหาจากการรับผิดชอบดูแลรักษา ให้คนอื่นได้รับความสะดวกสบายจากตัวเรา นี่ก็เป็นภารที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่พ้น ยิ่งอยู่นานวันเท่าไร รู้ว่าภาระมันก็ยิ่งมากขึ้นในหัวใจเราเท่านั้นไม่ต่างกับสมภารเจ้าวัดมาอยู่วัดใหม่ๆ ไม่มีอะไรก็ไม่มีภาระ ถ้าอยู่นานไปภาระก็เพิ่มมากขึ้นๆ ปัญหาปกครองหมู่คณะ ปัญหาก่อสร้าง ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นภาระ ถ้าเราทำใจไม่ได้ ก็จะเป็นคนกังวลไม่สามารถที่จะทำใจให้สบายได้ คนที่มีครอบครัวก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่อตอนเป็นเด็กๆ ก็ไม่มีภาระอะไร พอโตเป็นหนุ่มเป็นสาวมีครอบครัว ภาระก็ตามมามากขึ้นๆ จนไม่รู้ว่าเหตุมันอยู่ที่ไหน จับต้นชนปลายไม่ถูกว่ามันทุกข์เพราะเรื่องอะไร ใครเป็นคนทำให้เราวุ่นวาย จนเราต้องไปโทษคนโน้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี คนโน้นทำให้เราวุ่นวาย คนนี้ทำให้เราวุ่นวาย แต่ที่จริงแล้วก็ปัญหาตัวเรานั่นเอง

เหมือนกับพวกพวกปลานั่นแหละ ที่มันว่ายไปติดเหยื่อหรือว่ามันว่ายไปติดข่าย มันก็ไปโทษว่าข่ายดักมัน เบ็ดเกี่ยวมัน มันก็ไปด่าไปบ่นว่าตาข่าย ว่าคนไปดัก ถ้าไม่ไปดักเราก็ไม่ไปติด เบ็ดถ้าคนไม่มาล่อเราก็คงไม่ไปติด เราก็ไปโทษตาข่ายและเบ็ด พวกเครื่องดัก แท้ที่จริงเราก็ต้องโทษว่าเรา ว่ายไม่เป็นเอง เราว่ายไปชนตาข่ายเอง เราว่ายไปติดเบ็ดเอง หรือเราวิ่งไปตกหลุมตกบ่อเอง ไปโทษหลุมโทษบ่อโทษตาข่ายไม่ได้ ใจของเราก็เช่นเดียวกันแหละอย่างไปโทษใคร พระพุทธเจ้าท่านจึงบอกให้พวกเรานี้ทำบุญ ท่านจึงบอกให้พวกเราทำบุญ ทำใจให้ดีพอใจดีแล้วก็จะเป็นเหมือนเข็มทิศนำทางไปสู่ความสงบสุขที่ใจเรา เมื่อจิตใจของเราสูงส่งก็จะพบกับสิ่งที่สูงส่ง ถ้าจิตใจของเราตกต่ำก็จะไปพบกับสิ่งที่ตกต่ำ ถ้าจิตใจของเราเลวร้าย ก็จะไปพบกับสิ่งที่เลวร้าย ถ้าจิตใจของเราประณีตที่ดีก็จะพบแต่สิ่งที่ดีงาม ที่เหมาะควรกับฐานะจิตใจของเรา ฉะนั้นการที่เรามาทำบุญ คือเราต้องการพ้นเคราะห์ พ้นโศกพ้นโรค พ้นภัย พ้นความวิบัติทั้งปวงในครอบครัวเราในตัวเรา เราต้องการหนีบาปหนีเคราะห์ หนีเวรหนีกรรมให้พ้น ไม่มีคนไหนปรารถนาที่จะทำบุญเพื่อไปหาเวรหากรรมหาเคราะห์หาโศกหาโรคหาภัยใส่ตัวเราเลย ถึงคนไม่ทำก็ไม่อยากเป็นอย่างนั้น ก็อยากจะอยู่ในฐานะที่มีความสุขกายสบายใจ อยากสมหวังในชีวิต อยากมีความสุขในชีวิต ชีวิตนี้อยากให้มันเป็นเหมือนกับปูไว้เลย เดินไม่มีขวากหนามเลย แต่ทุกคนทำไม่ได้ ปรารถนาไม่ได้ เพราะชีวิตเราขึ้นอยู่กับความทุกข์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เป็นเรื่องของความทุกข์ทั้งหมด จะได้อะไรมามันก็เป็นเรื่องทุกทั้งหมด เพราะเพียงบำบัดชั่วครู่ชั่วยาม เพราะเราจะต้องรักษา เราจะต้องดูแล เราจะต้องหวงแหน มันเป็นภาระไปหมดทุกอย่าง ถ้าเราดูกันให้ละเอียดละออแล้ว ทุกเราได้อะไรมามันเป็นความทุกข์ทั้งหมด มันสุขแค่เราลืมหลงเพียงเดี๋ยวเดียวเท่านั้น แต่ทุกสิ่งทุกสิ่งทุกอย่างเราต้องรักษา เหมือนเราได้บ้านใหม่เราก็ต้องรักษา ได้เสื้อผ้ามาต้องรักษา ได้รถได้ ลาขี่ก็ต้องรักษามัน ได้อะไรทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องรักษา แม้แต่ได้ลูกได้หลาน ได้สามีภรรยา ได้เงินได้ทองมา ทุกอย่างก็ต้องเป็นห่วง เป็นสิ่งที่เราจะต้องรักษาไว้ให้ดี ถ้าไม่ดีเราก็เสียดายอีก

ฉะนั้นธรรมะการสอนของพระพุทธเจ้า จึงว่าเมื่อเรามาทำบุญเราต้องการให้มันพ้นทุกข์ทางใจ พ้นเคราะห์ทางใจ พ้นโศกทางใจ พ้นโรคทางใจ ทำบุญแล้วหนีเวรหนีกรรม คือหนีอย่างไรได้? ท่านบอกว่าเมื่อเราทำมากๆ แล้วจิตใจมัน ค่อยๆ เขยิบฐานะพ้นไปทีละน้อยๆ เรียกว่าบุญเป็นผู้นำพาไปสู่ความดี ไปสู่ทางสว่างเรียกว่าเมื่อเราทุกข์มากๆ แล้ว มัจจุราชก็ตามเราไม่ได้ มัจจุราชคือความตายก็ตามเราไม่เห็น ตามเราไม่ถึง ตามเราไม่ทัน แต่ถ้าคนเราไม่ทำบุญก็หนีไม่พ้น หนีเคราะห์ หนีโศก หนีโรคหนีภัย หนีแก หนีเจ็บ หนีตาย หนีความพลัดพรากจากของรักหนีไม่พ้น บุญที่เราทำไว้จะไม่เป็นเครื่องกำจัดขีดขวางชีวิตตัวเอง บาปกรรมที่คนเราทำทำไว้จะเป็นเครื่องขัดขวางชีวิตของตัวเองไม่ให้ราบรื่นไม่ให้พบความสุข ไม่ให้พบความสมหวัง ฉะนั้นเราทำบุญจึงหนีบาปหนีเวรกรรมได้ไม่พ้น ถ้าเราไม่ทำเราก็จะเวียนกันมารับบาป รับกรรม รับเวร รับเคราะห์ รับโศก รักโรค รับภัย รับที่มนุษย์เขาเป็นอยู่ มนุษย์เขาเป็นอะไรกันเราก็จะต้องเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้นธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เราต้องพยายามประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้หนีทุกข์ทั้งปวง เพื่อหนีความทุกข์ความโศกพวกนี้ให้พ้นเคราะห์ พ้นเวร พ้นกรรม ไม่สามารถที่จะตามลบล้างหรือตามผจญเราได้เราจะหนีได้ก็หนีได้ในชาตินี้ ชาตินี่เรายังไม่รู้ว่าจะมาเกิดเป็นอะไรแต่ชาตินี้เรารู้ว่าเราเกิดเป็นมนุษย์ที่มีสติดีมีปัญญาดีมีความรู้ความสามารถที่จะบำเพ็ญตนให้เกิดประโยชน์ต่อพุทธศาสนาหรือบำเพ็ญตนให้เกิดศีลเกิดธรรมในตัวเรา ถ้าหาไม่แล้วคนเราหนีไม่ทันเลยสักคนเดียว บุญจะหนีความตายพ้นหนีพระยามัจจุราชเขาบอกว่าพระยามัจจุราชตามไม่พบผู้ที่ตัดโลภโกรธหลง ถ้าคนเรามีความโลภมากโกรธมาก หลงมาก พระยามัจจุราช (ความตาย) ก็มองเห็นอยู่ทุกเวลาฉะนั้นจึงว่าเราจะจึงต้องมาฝึกศีลสมาธิกันตรงนี้ที่ใจเรา พยายามเข้ามาหาธรรมะ มาฝึกจิตใจของเราให้สงบให้รู้จักหลีกเลี่ยงในทางที่ไม่ถูกต้อง ในเมื่อเราทำจิตใจให้ดีได้แล้วเราก็จะพ้นทุกข์ พ้นโศก พ้นโรค พ้นภัยพ้นเคราะห์ที่เราทุกคนอยากสะเดาะเคราะห์อยากจะต่อชะตาให้อายุตัวเองยืนๆ ตายก็ขอให้ตายง่ายๆ ไม่เจ็บไม่ไข้นอนหลับตายไปเลย ไม่อยากทรมานในชีวิตนี้ ทุกคนก็ปรารถนาดีทุกคนแต่ทุกคนก็ไม่สมหวังเพราะคนเราทำกรรมต่างกัน กายกรรม สงบกายให้เรียบร้อยต่างกัน วจีกรรม พูดจาให้เป็นระเบียบ เป็นธรรมวินัย หรือพูดให้มีศีลธรรมต่างกัน มโนกรรมทุกคนรู้จักความสงบน้อยไป หรือบางคนอาจจะไม่รู้จักความสงบเลยตรงนี้แหละที่ทำให้คนเรามีชีวิตทีไม่สมบูรณ์ในเมื่อเราได้ความสงบที่ดีแล้วเราทำจิตใจของเราให้เหมือนอย่างที่ พระองค์ทรงสั่งสอน ทุกคนก็จะต้องดับเป็นสุข แม้จะอย่างเป็นมนุษย์ ก็จะอยู่อย่างสงบสุข อุปสรรคคือกรรมเวรอะไรๆ มันก็เบาบาง ลดน้อยถอย จนมองเราไม่เห็นจนไม่มีสิ่งพวกนี้มาเป็นเวร มาเป็นกรรม ซึ่งตามสืบเนื่องเรา เราจะเห็นอีกหลายๆอย่างถ้าจะยกตัวอย่างในโลกปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่าคนที่ทำกรรมดี ก็มีกรรมดีให้ผล ให้เขามีความสุขทั้งตัวเขาและครอบครัวเขา ชีวิตของเขา เขาก็ได้รับความภาคภูมิใจที่เขาทำของเขาไว้แต่บางคนหรือคนหลายๆคนที่ทำความทุกข์ไร้ศีลธรรม เบียดเบียนคนอื่นเขาก็ได้รับกรรมของเขา ได้รับความทุกข์อย่างแสนสาหัสก็มีมากมาย แต่ใครเล่าจะมาบอกกันได้ว่าฉันได้รับกรรม ใครจะมาบอกสิ่งที่ไม่ดีให้คนอื่นฟังให้คนอื่นรู้ ก็จะต้องบอกแต่สิ่งที่ดีๆ ทั้งๆ ที่จะเป็นกรรมที่ทุกข์ทรมานใจแค่ไหนทุกคนก็ต้องเก็บกดไว้บางคนเก็บกดไว้ไม่อยู่ก็ต้องแสดงออกมาอย่างมากมายที่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน

ฉะนั้น การที่เรามาประพฤติปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นการแก้กรรม แก้ทุกข์ แก้โศก แก้โรค แก้ภัย เป็นการหนีเวรกรรมให้พ้นไปในชาตินี้ ฉะนั้นเราจึงยกจิตใจของเรา หรือว่ายกตัวของเราให้มาอยู่ในฐานะ ผู้ประพฤติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมพ้นจะได้พ้นจากความเกิดที่เป็นทุกข์ ความแก่ที่ทรมานสังขารร่างกายจิตใจ และความตายที่มันความพลัดพรากจากความรักความห่วง เมื่อเราได้มาปฏิบัติแล้วใจเราก็จะอยู่เหนือสิ่งพวกนี้ เราก็สามารถที่จะทำให้จิตใจของเรานี้สงบ ระงับ ดับความทุกข์ ความเร้าร้อนใจได้ แต่ถ้าเราไม่สนใจ เราจะอ่อนแอหวั่นไหว เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป ในเมื่อเราเกิดอะไรขึ้นมา ในเมื่อเราเกิดทุกข์ขึ้นมา เกิดความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เกิดความผิดพลาดในชีวิตขึ้นมา เราจะทำใจไม่ได้เพราะเราไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องกั้นไว้ ฉะนั้นด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ที่เป็นคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ให้เราเอาไว้เป็นเครื่องเตือน เครื่องระลึก เป็นการปฏิบัติน้อมเข้ามา เพื่อให้จิตใจของเราเป็นคนที่มีธรรมะมีกุศลคุ้มครอง แล้วเราก็จะมีบุญกุศลคุ้มครอง เราจะเห็นว่าการมาวัดคือเรามาสร้างบุญกุศลให้แก่ตัวเอง เพื่อจะได้นำบุญกุศลไปดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์เท่าที่เราจะได้ ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งเพียงหลับหูหลับตาโดยไม่รับรู้อะไร อย่างน้อยเราก็จะได้รู้สภาวความจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ว่าเรานี้มีอะไรอยู่ในตัวเรา ทุกข์เท่าไร มีสุขเท่าไร มีความสงบเท่าไร ไม่มีความสงบเท่าไร ที่มันไม่สุขเพราะอะไร ที่มันทุกข์เพราะอะไร อ้อ! ที่มันทุกข์เพราะเราทำใจวุ่นวายหายความสงบไม่ได้ เพราะขาดศีลธรรม แต่ที่เรามีความสุข มีความสงบเพราะเราหาศีลธรรม หาการปฏิบัติมาใส่ใจตัวเอง เราก็ได้รับความสุข ที่เราพอที่จะหาได้ในใจเรา

ฉะนั้นการที่ญาติโยมได้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มาตักบาตรทำบุญ ก็เพื่อต้องการที่จะสร้างบุญกุศล เพื่อหนีความทุก ความเดือดร้อนทางกายและจิตใจ หนีเวร หนีกรรมให้มันพ้น พ้นไปตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงพ้น เราก็เดินตามทางท่าน พยายามประพฤติปฏิบัติไปสักวันหนึ่ง เราก็จะรู้ว่าเรานั้นสามารถที่จะพ้นทุกข์ พ้นโศก พ้นโรค พ้นภัย ไปได้ในชาตินี้ เพราะอาศัยบุญที่เราได้พยายามสร้างสมอบรมไปทีละเล็ก ทีละน้อย เราก็จะภาคภูมิในชีวิตของเรา พอเข้าใจไหมโยม? ไม่เข้าใจก็นั่งสมาธิบ่อยๆ ฟังเทศน์ไม่รู้เรื่องก็หัดทำให้ปัญญาเกิด ถ้าเราฟังแล้ว เอ้..! พระเทศน์เรื่องอะไร เรื่องทุกข์ๆ สุขๆ ดิบๆ อยู่อย่างนี้เอง ไม่เห็นเทศน์เรื่องไปสวรรค์ ไปนิพพานตรงไหนได้ โยมก็เลยเมื่อย เหนื่อย รำคาญ แต่แท้ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าท่านก็ต้องการให้พวกเรารู้เรื่องตัวเรานี่เอง รู้บุญในตัวเราว่าเรามาวัดมาสร้างบารมี ว่าจิตใจของเราพอดีแล้วหรือยัง เอาความพอดี เอาความดีที่เราทำไว้นี้ เอาไปใช้ อันนี้คือการถูกต้อง เขาเรียกว่ามาตักตวงบุญ เพราะบุญอยู่ที่ใจสงบบุญอยู่ที่ใจผ่องใส บุญอยู่ที่ใจเบิกบาน พอเราทำใจสงบ ผ่องใส เบิกบาน แล้วก็ตักตวงบุญออกไปพอ แล้วสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ทั้งปวง กำจัดภัย กำจัดเวร กำจัดศัตรู เพราะการเข้ามาถึงธรรม ธรรมะก็รักษาคุ้มครอง ผู้ประพฤติปฏิบัติ ให้อยู่เย็นเป็นสุขเหมือนกับเรา นี่งอยู่ในที่ร่ม ธรรมะก็เหมือนร่มนั่นแหละ เหมือนร่มเงาที่ดีทำให้เราเยือกเย็นไม่เร้าร้อน คนที่ไม่มีธรรมะ ก็เหมือนนั่งอยู่กลางแจ้ง ก็ทำให้ใจเดือดร้อน เป็นทุกข์กังวล เพราะไม่มีความร่มเย็นฉะนั้นเมื่อเรามีธรรมะแล้วเราก็มีความร่มเย็นในชีวิตตัวเอง ตลอดชีวิตนี้ ถ้ายังมีร่มเย็นคือธรรมะตลอดไป ก็จะได้เป็นที่พึ่ง ที่อาศัย บังทุกข์ทั้งปวงไม่ให้เข้ามาย้ำยีจิตใจของเราเราได้ ฉะนั้นจึงว่าทำไมเราจึงต่องมาวัดด้วย ทำไมเราจึงต้องมาศึกษาธรรมะด้วย อยู่บ้านอย่างเดียวไม่ดีหรือ ได้ถ้าอยู่บ้านเราดีได้ ใครด่าเราไม่โกรธเลย ใครอิจฉาเราไม่อิจฉาตอบเลย ใครจะมาขโมย ใครทำอะไรให้เราเสียหาย พลัดพรากจากอะไร เราอยู่คนเดียวเราก็ไม่เสียใจเลย อย่างนั้นโยมก็มีธรรมะ ไม่ต้องมาวัดหรอกโยม ใครเอาอะไรไป ใครจะทำอะไรฉันก็เฉย นั้นคือคนมีธรรม แต่มันทำไม่ได้

ยิ่งมีมากก็ทุกข์มาก กังวลมาก มันห้ามใจไม่ได้ เอาล่ะ..! เอาแค่ญาติป่วยหน่อยเดียวเราก็จะตายแล้ว แค่ใครเป็นนั่นเป็นนี้เราก็เป็นทุกข์แล้ว เราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราทำใจไม่ได้ เราจึงต้องมาหาที่พึ่งทางใจ เพื่อจะเอาไว้ระงับจิตใจของเรา ในเมื่อมีเหตุการณ์อะไรมาเราจะได้ ปล่อยวางได้ จะได้เฉยเป็น บางคนก็ปากแข็งแต่ใจไม่แข็ง ฉันไม่เห็นมีทุกข์อะไรเลย พอมีเรื่องอะไรมา อุ้ย..! อะไรๆ ก็เอาไม่อยู่เลย ทุกข์คนเดียวทั้งนั้นเลย ดังนั้นจึงว่าพระพุทธเจ้าท่านรู้ใจพวกเรา รู้ว่าคนเราที่เกิดมาในโลกนี้ ไม่มีใครหรอกทนทุกข์อยู่ได้ นอกจากผู้ประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมที่จะพ้นจากความเสียหายไปได้ ที่จะเป็นจากสิ่งที่เราผูกพันธ์เราห่วงใย แล้วมันเสียไปต่อหน้าต่อตาแล้ว เราจะวางเฉยได้ไม่มีใครทำได้

ฉะนั้นถ้าจะทำได้เราต้องมาประพฤติปฏิบัติ ในจิตใจของเราไว้ก่อนนั่นแหละจึงจะทำได้ ไม่ใช่ว่าฉันไม่เขาวัดหรอก ฉันไม่มีทุกข์เลย…ไม่ใช่หรอก..ไม่มีเลย ยิ่งมีเงินเป็นร้อยๆ ล้าน ก็ทุกข์เป็นร้อยๆ ล้าน พอใครมาโกงสักหมื่นสองหมื่นโอ้โฮ.. นอนไม่หลับเลย ฉันเสียรู้คนเสียแล้วไม่น่าเลยอุตส่าห์สะสมมาเยอะแยะ พอเราเสียไปเราก็เสียใจ อันไหนที่เรารักมากเราก็เสียใจมาก เราก็เป็นทุกข์มาก อันไหนที่ไม่รักก็ไม่เสียดายใช่ใหม? เช่นเสื้อผ้าที่เป็นผ้าขี้ริ้วแล้วใครจะขโมยไปไหนก็เอาไปเถอะ แต่ซื้อมาวันนี้พวกขโมยไปนี่ แหม! เสียใจจังเลย เพราะว่าเรารักมันมาก เหมือนเราแต่งงานใหม่ แล้วแฟนมาตาย หรือว่าแฟนไปเป็นอื่น แหม! เสียดายจัง ยังอยู่ด้วยกันแป้บเดียว ถ้าอยู่ด้วยกันจนแก่ แล้วมาตายก็คิดว่า เอ้อ..ตายก็ดีจะได้พ้นทุกข์กันไป ไม่เสียดายแล้ว ใช่ไหม? ก็คนๆ เดียวกันนั่นแหละตอนเป็นหนุ่มๆ สาวๆ พอแต่งงานกันไม่กี่วันแล้วตาย ก็จะร้องห่มร้องไห้ แต่งงานใหม่นี่ พอสามีตายก็ร้องห่มร้องไห้ปานจะตายตาม พอตายตอนแก่ เอ้อ..ตายก็ดีจะได้ไม่มีคนขัดคอกัน นั่นแหละที่รักมากก็เป็นทุกข์มากในเวลาจากกัน ที่รักน้อยก็ไม่เป็นทุกข์อะไร

ฉะนั้นเราก็ต้องรักตัวเองแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติธรรม ก็ต้องเป็นอย่างนั้นทั้งนั้นแหละ เหมือนเสื้อผ้าตัวไหนถ้าหากมันหายตอนที่ยังไม่เก่า มันก็ดีหน่อยเจ้าของก็คิดถึง ถ้าใช้จนเก่าแล้ว ก็โยนทิ้งเลยไม่คิดถึง เราก็คิดถึงตัวใหม่ๆ ต่อไป ฉะนั้นเวลาที่พลัดพรากจากของรักที่มันกำลังใหม่ๆ ก็เสียดาย เช่นลูก หลานตายตั้งแต่เล็กๆ แทบจะตายตาม ยิ่งเป็นคนดีแล้วยิ่งเสียดายใหญ่ แต่ถ้าอยู่ด้วยกันไปนานๆ มันก็เบื่อกัน ไม่เสียดายฉะนั้นจึงว่าเราทำใจไม่ได้เราก็ต้องทำ มาฝึกมาปฏิบัติให้มันมั่นคงต่อศีลธรรม จะได้ไว้ช่างใจเวลามีเหตุการณ์อะไรมันเปลี่ยนแปลงในโลกนี้ เอาไว้พิจารณา เอาไว้ปลงใจเราบ้าง อย่างน้อยก็สบายใจ ทำใจได้… การที่เรามาเข้าวัด มาทำบุญ ก็คือการมาทำใจนั่นเองเพราะบุญนั้นคือจิตที่เกิดความสงบใจสงบเพราะว่าไม่ได้เอาเรื่องอะไรมาคิดไม่ได้เอาความโกรธมาคิดไม่ได้ เอาความหลงความโลภมาคิด มันไม่กังวลในเรื่องราวต่างๆ ก็เรียกว่าเป็นบุญ บุญอยู่ที่ใจสบาย บุญอยู่ที่ใจสงบ เมื่อเรารู้ว่าบุญอยู่ที่ใจสบายใจสงบ เราก็ตั้งสติไว้ที่ใจเรา ด้วยการภาวนาว่าพุทโธไว้เป็นอารมณ์ เราทำบุญก็เห็นบุญทันทีว่าบุญอยู่ที่ใจสงบ การที่เรามาเข้าวัดก็มาแสวงหาธรรมมาแสวงหาบุญ ก็คือมาแสวงหาความสงบใจนั่นเอง ถ้าหากเราเข้าวัดมาไม่ได้รับความสงบใจก็เท่ากับว่าเราเข้าวัดมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับความสงบก็คือไม่ได้รับบุญออกไป ฉะนั้นเราจะมาดูเราก็มาดูบุญเราจะมาฟังเราก็มาฟังบุญ เราจะมาทำใจก็มาทำใจให้เป็นบุญนั่นแหละ เราจึงจะได้สิ่งที่ดีเอาติดตัวติดใจไป

เพราะคนเราเกิดมามีดีกับไม่ดีเป็นของคู่กัน เรียกว่ามีทุกข์กับมีสุขเป็นของคู่กัน มีได้ก็มีเสียเป็นของคู่กันมีสมหวังกับผิดหวังเป็นของคู่กันอยู่ในตัวเรา เมื่อเรามาก็มาศึกษาสิ่งที่ดี สิ่งที่ดีจะเป็นเครื่องเตือนสติ เป็นที่ระลึกกุศลที่เกิดขึ้นมา เราได้ทำดีให้แก่ตัวเอง ถ้าเราไม่มีโอกาสได้สร้างคุณงามความดีให้กับตนเองได้ง่ายนัก ส่วนมากก็จะไม่มีเวลาเข้าหาศีล ไม่มีเวลาเข้าหาธรรม ไม่มีเวลาได้เข้ามาปฏิบัติตนให้เกิดความสงบใจได้ เพราะว่าส่วนมากคนเราก็มีเรื่อง มีปัญหา มีภาระมีสิ่งที่จะชักจูงให้เราไปสู่ทางไม่สงบมากกว่า หรือไปสู่ทางโลกมากกว่าที่จะมีโอกาสเข้ามาสู่ทางธรรม ฉะนั้นคนเราจึงไม่ค่อยมีที่พึ่งทางใจ บางคนใช้ชีวิตจนหมดกว่าจะมารู้ตัว ว่าทำความดีให้กับตัวเองนั้นคืออะไร ก็ใกล้เสียแล้ว ก็สายเสียแล้ว หรือมีเวลาน้อยเสียแล้ว ส่วนมากคนเราจะมาคิดได้ และเมื่อมีวัยมาก จึงคิดว่าที่เราทำอะไรๆ มานั้นก็ไม่ได้เป็นอะไรๆ ของเราเลยสักชิ้นสักอันเดียว ม้นก็หมดไปสิ้นไป กินก็หมดไปใช้ก็หมดไปชีวิตก็สิ้นเปลืองไปอย่างที่ไม่เห็นว่าได้อะไรขึ้นมาใหม่เลย มีแต่ใช้เก่าไปทุกวัน หมดไปทุกวัน และอะไรล่ะที่จะได้สบายใจได้ อะไรล่ะที่จะทำให้เราเป็นสุขใจได้ ไม่มีอะไรเลยที่ทำให้เราสบายใจได้ นอกจากศีล ทาน ภาวนา ศีล ทาน ภาวนานี้ เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจของมนุษย์ ทางใจของทุกคนที่มองด้วยการใช้ปัญญา ว่าชีวิตที่เราจะอะไรจริงๆ ได้รับความสุขจริงๆ ได้ คือการมาประพฤติปฏิบัตธรรม มาสนใจในศาสนา มาสนใจในการให้ทาน มาสนใจในการรักษาศีลและก็ลงมือปฏิบัติ ให้กาย วาจา ใจ เกิดความสงบระงับ ดับจากความวุ่นวายใจ พอเรามาลงมือปฏิบัติเข้าถึงศีลธรรม ก็รู้สึกว่าศีลธรรมนี้ทำให้เรามีความสุข มีความอบอุ่นอย่างมากมีความสบายใจอย่างมาก เรามีที่พึ่งแล้วเพราะศีลธรรม แต่คนเราที่ยังไม่ได้เข้ามาหาธรรมะ ยังไม่ได้ปฏิบัติก็ยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตเราจะได้อะไร ยังมองไม่เห็นเลยว่าที่พึ่งข้างหน้าของเรานั้นเป็นใคร คืออะไรที่จะเป็นที่พึ่งของเราข้างหน้ามองไปข้างหน้ามันก็ไม่มีอะไร คนเราก็มี กินไปวันๆ หมดไปวันหนึ่ง จนหมดอายุแต่เราก็ไม่ได้อะไร วันนี้ก็หมดไป พรุ่งนี้ก็หมดไป คนเราก็อยู่ด้วยกันไม่ถึงร้อยปีก็หมดไปจนหมด แต่คุณธรรมความดีที่เราจะต้องทำนั้น ที่ปัจจุบันเราจะต้องทำให้ตัวเรา ให้ตัวเราได้รู้ว่าเราได้ทำความดีแล้ว ได้มีธรรมะ ได้มีการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วหาหลักชีวิตได้แล้ว อันนี้เราจึงจะเกิดความมั่นใจ เกิดความสบายใจ ที่เราได้ทำให้ตัวเอง ถ้าไปอย่างนั้นเราไม่ได้อะไรเลยนะ ชีวิตหนึ่งก็ปล่อยไปทุกวันๆ สวดมนต์ไม่เป็น นั่งสมาธิไม่เป็น ตักบาตร ทำบุญทำจิตใจไม่เป็นก็ไม่ได้อะไรเลย เพราะไม่เคยสงบใจ

ฉะนั้นเวลาอันนิดหน่อยนี้เราควรจะฉวยโอกาสได้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้ชีวิตเราก็ยังมีความหวังยังมีค่าว่าได้ทำความดี เพียงครั้งเดียวก็ยังได้จารึกไว้ในใจเราว่าได้ทำความดีครั้งหนึ่งๆ ถึงจะไม่ใช้เป็นการทำที่ยาวนานติดต่อกันไป เหมือนทุกวันทุกคือแต่ก็ถือว่าครั้งหนึ่งเราได้ทำดีไว้ เช่นเรามานั่งสมาธิอย่างนี้ชั่วแว๊บเดียวปล่อยใจว่างได้ ทำใจสบายได้ มันก็ถึงสวรรค์ทำทันที ถึงสวรรค์ในใจทันที ถึงนิพพานในใจทันที เป็นโอกาสเราแล้ว เป็นโชค เป็นบุญ เป็นวาสนา เป็นบารมีของพวกเราแล้วที่เราได้มีจิตใจ มีศรัทธา มีความเลื่อมใสมีความคิดดำริที่จะประพฤติปฏิบัติธรรม ที่จะขวนขวายในกองบุญ กองกุศล ให้เข้าถึงบุญ ให้เข้าถึงธรรมคือคำสอนเรา ก็ต้องเสียสละน้อมกายและใจของเรา มาเข้าถึงวิธีการปฏิบัติธรรมสิ่งอันนี้แหละ ที่เราจะนำติดตัวไปนำติดใจของเราไว้คุ้มครองตัวเอง รักษาตัวเอง ปกป้องตัวเอง คุ้มภัยอันตรายแก่ตัวเองด้วยการมีธรรมะ ด้วยการปฎิธรรมะ แค่เรามีคำว่าพุทโธ มีคุณอนันตจักรวาลคำว่าพุทโธไปไหนก็มีสติ พุทโธ แปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะถ้าเรารู้แล้ว เราเบิกบานแล้ว เราตื่นแล้วไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าสิ่งนี้ คนเราไม่มีความรู้ก็จะไม่เกิดความเข้าใจอะไร มันก็กลายเป็นผู้หลับ ผู้หลงผู้ไม่มีความเบิกบานใจได้ เพราะความไม่รู้ ไม่รู้แถมไปทำผิดๆ ก็มี กลับไปทำที่ผิดๆ ยิ่งผิดมากขึ้นก็ยิ่งไม่รู้มากขึ้นก็ยิ่งทำผิดมากขึ้น แต่ที่เราแสวงหาความรู้ ความรู้อยู่ที่ไหน ความรู้ก็อยู่ที่พุทโธนี่เอง พุทธะนี่เองเป็นผู้รู้รู้อะไรก็รู้เรื่องจิตใจของเรานี่เอง รู้จักละวาง รู้ทำความดี รู้จักคำว่าสงบใจ เพียงเรารู้คำว่าพุทโธ เรารู้จักคำว่าสงบใจเราก็จะทำตัวเราให้ดีได้ทันทีเพราะสิ่งที่ไม่ดีเกิดจากความไม่สงบ อยู่ที่ความคิดมากอยู่ที่ปัญหาในหัวใจ เรียกว่าคนทำใจไม่ได้คนทำใจไม่ได้เป็นอย่างไรเมื่อเกิดอารมณ์อะไรขึ้นมาที่กระทบกระเทือนทางใจก็หักห้ามใจไม่ได้ เกิดความเสียใจ เกิดความคับแค้นใจ เกิดความรุ่มร้อนใจ เพราะห้ามใจไม่ได้ เมื่อเราหักห้ามใจไม่ได้เราก็ปล่อยละวางไม่เป็นจิตใจเราก็ขุ่นมัว เศร้าหมองเป็นทุกข์เกิดความอึดอัดขัดเคือง สติก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ไว้ได้ ก็เป็นอย่างนี้ทุกวันไป เป็นอย่างนี้ทุกคืนไป มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมากว่าเดิม มันก็แย่ลงไปทุกวันจิตใจเราก็เสื่อมลงไปทุกวัน ไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นเลย

แต่ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้านี้ เราจะไม่ตกอยู่ในฐานะนั้นจะไม่เป็นคนที่อึดอัดขัดเคือง ทำชีวิตให้เป็นคนเจ้าทุกข์ มันจะต้องแก้ที่ใจเราคือการสนใจศาสนา สนใจคำสอน สนใจในการปฏิบัติว่าเราปฏิบัติอย่างไร เดินภาวนาอย่างไร นั่งภาวนาอย่างไร กินภาวนาอย่างไร คิดโกรธโลภหลงภาวนาอย่างไร ให้รู้จักคำว่าสติ เมื่อเราฝึกตัวเองได้อย่างนี้แล้ว เราก็เริ่มควบคุมอารมณ์ ใครจะด่า ใครจะว่า ใครจะนินทา ใครจะสรรเสริญ เราก็เริ่มปลงใจ ว่ามันเป็นโลกธรรม อย่าไปถือสาหาความเขาเลย คนไม่รู้ยังมีอยู่อีกเยอะเราต้องการความรู้ เราก็ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งพวกนี้ รู้จักปล่อยวาง รู้จักเฉย มันก็สบายใจ ไม่ใช่ว่าอะไรๆ เราจะต้องรู้ไปทุกอย่างเห็นไปทุกอย่าง รับไปทุกอย่าง มันก็จะเกิดทุกข์คนเดียว สิ่งที่ไม่ควรรับเราก็ไม่รับ สิ่งที่ไม่จำเป็นเราก็ไม่ต้องดู ไม่จำเป็นต้องดูต้องรับทุกอย่าง เราก็ปล่อยวาง เมื่อเรารู้จักปล่อยวางมันก็เกิดความสบายใจ ที่ไม่ต้องไปแบกภาระจากคนอื่นมาใส่ใจ ขนมาสะสมใส่ใจเรา คนเราบางทีมันไม่เป็นอย่างนั้น มีเรื่องอะไรๆ ก็เก็บมาคิดหมด มานึกหมด สะสมไว้ในหัวใจนี้เต็มไปหมด มีเรื่องสารพัดที่จะคิดสารพัดที่จะนึกวันทั้งวันมีแต่อารมณ์วันทั้งวันมีแต่เรื่องสะสางไม่จบแต่ถ้าเรามีธรรมะเราก็จะไม่เอาเรื่องที่ไร้สาระมาสะสมไว้ในหัวใจ แต่เราต้องมีการประพฤติปฏิบัติ มีการขัดเกลา มีการสวดมนต์ภาวนา มีการทำจิตใจให้มีการละ ให้มันปลง ให้มันปล่อยอันนี้เราจะเกิดความสบายใจ เราลองปฏิบัติซิ..

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
http://www.vimokkha.com

คนสั่งฆ่ากับคนฆ่าใครบาปมากกว่ากัน

null
จะไปถามกับใครล่ะ..ของใครของมัน ขอให้เป็นปีติมันก็เหมือนกันหมดนั่นแหละ จิตมันก็ปีติเหมือนกัน ปีติขั้นต้นก็ปีติขนลุกน้ำตาไหลก็มี ตัวลอยตัวเบานี้เป็นปีติชั้นสูง ก็ถือว่าเป็นปีติทั้งนั้นแหละ เช่นว่าคุณนั่งขนลุกไหม? ถ้าขนลุกแสดงว่าเหมือนกัน น้ำตาไหลไหม?ไหลเหมือนกัน ตัวเบาเหมือนตัวลอยไปเลย ลักษณะจิตเหมือนกัน แต่การรู้เห็นเป็นเรื่องของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปีติขั้นไหนก็เหมือนกันหมด ขั้นตัวเบาก็ตัวเบา ขั้นน้ำตาไหลก็น้ำตาไหลเหมือนกัน ขั้นขนลุกก็ขนลุกเหมือนกัน ถ้าเกิดปีติจะขยันภาวนา ก็อยากจะปฏิบัติต่อ พระพุทธเจ้าท่านมีปีติสุดยอดปีติท่านดับไปแล้วท่านเสวยวิมุติสุขอยู่ได้ถึงเจ็ดสัปดาห์ ปีติท่านมากกว่าคนธรรมดา เรา..ก็ปีติได้เหมือนกันแค่อดข้าวได้ตอนเย็นไม่ถึงกับอดเป็นสัปดาห์ถ้าปีติขนาดนั้นอดเป็นสัปดาห์ก็ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นปีติแรงกล้า เสวยวิมุติเสวยปีติ เหมือนอย่างเทวดามีปีติมากเขาไม่กินอาหารได้สิบห้าวัน เทวดากินอาหารทิพยิ์อิ่มไปได้สิบห้าวัน อาหารของเขาละเอียดกว่าอาหารของเรา เรียกว่าอาหารทิพย์ อาหารบุญ นั่นเพราะเขามีปีติมาก. พระพรหม ไม่ต้องกินอาหาร ถือว่าเสวยพรหมวิหาร ๔ เขาไม่ต้องกินอาหารเพราะจิตละเอียดกว่าเทวดา ปีติมีมากกว่า สุขมากกว่า อุเบกขามากกว่า มนุษย์นี้มีปีติน้อย ก็ต้องกินอาหารหนัก พระพุทธเจ้ามีปีติมาก ไม่ต้องเสวยอาหารได้ ๗ สัปดาห์ อยู่ที่กำลังใจทุกอย่างมาจากใจเป็นส่วนใหญ่ จิตเป็นผู้ให้จิตเป็นผู้ได้ แต่กายเป็นเครื่องมือ ถ้าเราทำสมาธิชั้นสูงได้ ตายก็ไปเป็นพรหม ก็แสดงว่าได้จากจิต ถ้าเราทำไม่ถึงพรหมก็เป็นเทวดา นี่ก็ไปจากจิต ไปได้กินอาหารทิพย์ นี่มาจากจิต ถ้าหากเราทำได้สูงสุด ไม่ติดกายก็ไปถึงนิพพาน ถือว่าพ้นทุกข์ได้ ก็ไปจากจิต จิตทั้งนั้นแหละ กายนี้เป็นบ่าว คนที่เกิดมาบ้า ใบ้ หูหนวก ตาบอด พิกลพิการ พลัดที่นาคาที่อยู่ มีปัญหาก็มาจากจิตทั้งนั้นแหละ จิตคือผู้สร้างมา วิบากคือผลที่มันมาให้กับกาย แต่เราไปโทษปัจจุบันของโลกนี้ ไม่โทษว่าจิตเป็นผู้ห่อสิ่งเหล่านี้มาขยายผล มาเพาะพันธุ์ เพาะเชื้อ

แต่พระพุทธเจ้าท่านค้นพบแล้ว ว่าจิตมี ๒ กรรม คือ กรรมดีกับกรรมชั่ว แล้วก็มาละกรรมดีกรรมชั่วก็มาเป็นพระพุทธเจ้า ที่จริงมนุษย์ได้มา ๒ กรรม แต่ยังมีกรรมพิเศษที่มนุษย์ได้มาอีกคือ กัมมะพันธุ กรรมเป็นเพราะเผ่าพันธุ์พวกพ้องพี่น้อง มาให้ผลกับพี่น้องตัวเอง กับครอบครัวตัวเองอีก นั่นก็เรียกว่ากัมมะพันธุ มาให้ผลคล้ายๆ กัน มีนิสัยก็เหมือนกัน สายเลือดเหมือนกัน มี DNA เหมือนกัน เป็นกรรมแยกกันไม่ออกเลยสายพันธุ์เหมือนกัน หน้าตาคล้ายกัน จิตใจคล้ายๆ กัน วิบากกรรมคล้ายกัน เพราะเป็นเรื่องของกัมมะพันธุ แต่ที่จริงก็มาจากจิตนั่นเอง เหมือนอย่างคนที่ถูกเผาบ้าน ถูกเผาเมือง พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นกรรมที่หนีไม่พ้นเพราะเคยฆ่าสัตว์ร่วมกันมาทั้งเมืองพวกเบื่อปลา หาปลากินกันตลอดชีวิต โดยที่ไม่ยอมแก้กรรมเลย พอกรรมนั้นมาให้ผลในชาตินี้ก็ ๕๐๐ ชาติ ต้องโดนฆ่าตาย โดนเผาบ้านอะไรอย่างนี้ นั่นเป็นเพราะกัมมะพันธุตามมา มาเป็นกับญาติพี่น้องของตัวเองหมดเลย เรียกว่าเป็นกรรมที่ยังใช้ไม่หมด

ยิ่งคนสมัยนี้ยิ่งสร้างกรรมมากใหญ่เลย เพราะว่าอาชีพฆ่าสัตว์มาก ทำบาปมาก สมัยก่อนแค่ต้มเหล้ากิน ขายก็แค่หมู่บ้านเดียว แต่สมัยนี้ต้มขายทั่วโลกเลย ทำบุหรี่แค่หั่นยาสูบกันเอง แต่เดี๋ยวนี้มอมเมากันไปทั่วโลกเลย เปิดบ่อนก็แค่เล่นบ้านเดียว เดี๋ยวนี้เปิดบ่อนเล่นทั่วโลกเลย ใช่ไหม? เดี๋ยวนี้คนทำกรรมมาก ฆ่าสัตว์ก็ฆ่าแค่กินตัวเดียว ทั้งหมู่บ้านก็กินกันแค่ตัวเดียว แต่เดี๋ยวนี้วันหนึ่งฆ่าเป็นล้านๆ ชีวิต ปลาก็จับแค่ปลาที่มาตามหนองตามบึงกินกัน แต่สมัยนี้เลี้ยงขายกัน เลี้ยงฆ่ากันอย่างหนักเลย กุ้ง ปลา หมู เป็ด ไก่ คนสมัยนี้โอกาสทำบาปมากกว่าสมัยพระพุทธเจ้า ใช่ไหม? สมัยก่อนปืนผา หน้าไม้ ก็ไม่มี ใช่ไหม? จะฆ่ากันก็เอาอาวุธไปฆ่ากันแค่ตัวต่อตัวสมัยนี้เอาระเบิด ไปบอมส์ บึ๊ม!! แล้วคนที่ไม่รู้เรื่องด้วยก็ตายหมดเลย คนสมัยนี้จะทำบาปแรง ทำบุญก็ทำได้มาก เพราะว่าคนสมัยนี้ทำบุญก็ทำได้ข้ามโลกเลย อยู่เมืองไทยไปทำบุญที่อเมริกาก็ได้อยู่อเมริกามาทำบุญที่เมืองไทยก็ได้ มีเสื้อผ้า หยูกยารักษาโรค ส่งไปประเทศโน้นประเทศนี้ช่วยได้หมดเลย ฉะนั้นมนุษย์นี้มีโอกาสทำอะไรได้รุนแรงกว่าสมัยพระพุทธเจ้า จะเผยแพร่ก็เผยแพร่ได้เร็ว สมัยก่อนก็แค่บอกปากต่อปาก สมัยนี้ออกโทรทัศน์ ออกวิทยุ ออกหนังสือพิมพ์เผยแพร่ ฉะนั้นจึงว่าเป็นกัมมะพันธุ ทำไมคนจึงมาเกิดตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สองเพราะเป็นกัมมะพันธุ เพราะชวนกันทำบาปเยอะ ใช่ไหม? แล้วจะยิ่งทำกันอีกเท่าไรนี่ยิ่งหาอะไรพิเศษได้ เหมือนสมัยก่อนนี้ก็หากันแค่ มีสุ่ม มียอ มีแห ใช้มือจับ สมัยนี้ใช้เรด้าจับเลย เรือไทยเรือต่างประเทศปลาอยู่ตรงไหนรู้หมดเลย ใช้เรด้าจับหมดเลย ร้ายกาจมากเลย แล้วก็เป็นเรื่องสนุกสนาน เป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเรื่องที่คนต้องยึดอาชีพนี้จึงจะอยู่ได้ ต้องส่งออกนอกเพื่อจะมาเลี้ยงคน ถ้าไม่อย่างนั้นกำไรไม่มี ร่วมทำบาปกันทั้งประเทศเลยนะ

หลวงพ่อเจ้าค่ะคนสั่งฆ่ากับคนฆ่าใครบาปมากกว่ากันเล่าคะ?
“ก็พอๆ กันนั่นแหละ แต่คนสั่งฆ่านั้นเขาใช้หัวสมอง เจ้าคนนี้จะต้องมีกรรมทางหัวสมอง คนที่ฆ่านี้ต้องมีกรรมทางกาย มันจะมีโทษต่างกัน คนที่สั่งฆ่านั้นก็จะเป็นโรคสมองฝ่อ สมองเสื่อม คนที่ฆ่าก็พิกลพิการอะไรอย่างนี้ ก็จะได้รับผลกรรมต่างๆ กัน พ่อสมองเสื่อมลูกพิการอาจจะอย่างนั้น”

แล้วคนที่รับประทานเล่าคะ?
“คนที่ทานเหรอ..คนที่ทานก็อิ่มไปซิ! คนที่รับประทานถ้ารับประทานแล้วยินดีนั่นถือว่าเป็นกรรมร่วมกันด้วย ถ้ารับประทานแล้วเราพิจารณาว่าอาหารที่ได้มาเป็นธาตุ ๔ เราไม่ได้ยิน เราไม่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเรา เรากินเพื่อยังเวทนา แล้วกินเป็นธรรมะนี้ไม่บาป ฉะนั้นจึงว่าจิตนี้เป็นใหญ่ ในโลกนี้ถือว่าจิตเป็นใหญ่ที่สุด ไม่มีใครจะใหญ่เท่าจิต ถ้าพูดถึงอิทธิพลทั้งหมดนี้อยู่ที่จิต เรียกเป็นธรรมะว่าใหญ่ที่สุดในโลก มาจากเหตุอันเดียวกัน ฉะนั้นจึงต้องแก้จิตอย่างเดียว โลกนี้จะให้มีความสุขต้องแก้ที่จิต เพราะว่าถ้าจิตดีอะไรก็ดีหมด จิตเสียก็เสียหมด รู้อย่างนี้แล้วก็เหมือนน่าจะแก้ได้นะ! รู้ปัญหาแล้วไม่มีอะไรแก้ที่จิตอย่างเดียว คนเราจะทะเลาะกัน ทะเลาะเรื่องจิต ความเห็นไม่ตรงกัน ไม่ใช่เดินไม่ตรงกันใช่ไหม? คนจะโกงกันโกงที่จิต จะรักกันก็รักที่จิต ทำอะไรก็เรื่องจิตทั้งหมด ฉะนั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้เลยว่า จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้ ถ้าจิตเป็นทุกข์ก็ไปสู่ทุคติ จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ เมื่อจิตเป็นสุขก็ไปสู่สุคติ ฉะนั้นจึงว่าจิตเท่านั้นแหละจึงจะเป็นผู้นำโลกได้ นำความสุขและทุกข์มาให้แก่ตัวเองได้ ไม่มีใครเลย ถ้าพูดกันแล้วตำราทุกเล่มในมหาวิทยาลัยต้องมาลงที่จิตให้หมดจึงจะจบได้ดี ไม่ว่าวิชาใดทั้งหมดต้องมาลงที่จิตแล้วก็จะสงบโลกนี้จะไม่วุ่นวาย รู้ว่าทุกข์มาจากไหนค้นหาเหตุได้ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าท่านค้นหาเหตุได้ว่า ทุกข์มาจากไหน? ทุกข์มาจากการปรุงแต่ง ทุกข์มาจากการสับสนวุ่นวายทุกข์มาจากความอยากดิ้นรนไปทั่ว ความทุกข์เกิดจากสมุทัย ทำให้เกิดทุกข์ คือความอยากดิ้นรน คือทำอย่างไรจึงจะดับทุกข์ได้ บอกว่าต้องรู้ทันจิตตัวเอง พอรู้ทันจิตตัวเองก็ดับทุกข์เลย ถ้าไม่รู้ทันจิตก็ไม่ดับทุกข์ เท่านั้นเอง ให้ยืนเดินนั่งนอนถ้าไม่รู้ทันจิตตัวเองก็ไม่ดับทุกข์ พอรู้ทันจิตก็ดับทุกข์ได้เลย เข้าใจไหม?”

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
http://www.vimokkha.com/

เสวยความสุขเพราะอานิสงส์ที่ตัวเองได้รักษาศีลอุโบสถกับแม่ หมดบุญก็ไปตกนรกเพราะตีพ่อตีแม่

null
เมื่อสมัยก่อนพุทธกาล มีชายคนหนึ่งจะไปค้าขายต่างเมือง แม่บอกว่า

อย่าไปเลยลูก แม่มีลูกคนเดียวอย่างจากแม่ไปเลย ถ้าลูกไปแม่ก็ต้องอยู่คนเดียว

ลูกชายกำลังรุ่นๆ ผลที่สุดด้วยความดื้อรั้นจึงผลักแม่ล้มลงเลย พอผลักแม่ล้มแล้วก็ลงเรือสำเภาไปค้าขาย กะว่าจะรวย เพราะคิดว่าคนที่ไปค้าขายทางสำเภากับต่างประเทศ กลับมาแล้วรวยทุกคน เมื่อลงเรือสำเภาไปค้าขาย พอไปถึงกลางทะเลลึก เรือมันไม่แล่น ก็มีคนบอกว่า

ที่เรือไม่แล่นแสดงว่าจะต้องมีคนกาลกิณีอยู่ในเรือลำนี้คนหนึ่ง เจ้าคนนี้ต้องตีพ่อตีแม่แน่นอน

เขานึกถึงตรงนั้นเลยนะ จะไปฆ่าคนพันคนก็ไม่บาปเท่ากับตีพ่อตีแม่ให้ล้มเจ็บ ไม่เป็นจัญไร แต่คนที่ตีพ่อตีแม่อกตัญนี้ถือว่าบุคคลนี้ขัดลาภไปไม่ได้ เรือมันจอดเฉยๆ ใบก็ติดแต่มันไม่แล่นก็เลยจับฉลาก คนไหนได้ไม้สั้น ไม้กาลกิณีคนนั้นก็ต้องสละเรือลำนี้ ลอยเรือลำเล็กไป ห้าสิบคนพอจับก็มาโดนเจ้าหนุ่มคนนี้ เจ้าหนุ่มคนนี้บอกว่า ถ้าจับครั้งเดียวอาจจะลำเอียงต้องจับใหม่ จับใหม่ก็มาเจอคนนี้ ถึงสามครั้ง ใบกาลกิณีเจอคนนี้คนเดียว

หัวหน้าเรือจึงถามว่า คุณทำอะไรมา

เจ้าหนุ่มตอบว่า ฉันไม่ได้ทำอะไรมา

หัวหน้าบอกว่า คุณต้องทำร้ายพ่อแม่แน่เลย

ก็เลยบอกว่า พ่อไม่ได้ทำร้าย ทำร้ายแต่แม่ ตอนจะมานี้แม่ไม่ให้มาก็เลยทุบตีแม่ล้มไป ก็ไม่ได้ทำร้ายอะไร

หัวหน้าจึงบอกว่า นั่นแหละเทวดาเขาไม่รักษาคุณ

ก็เลยจัดเรือลำเล็กให้ หาอาหารให้แล้วลอยเจ้าหนุ่มคนนี้ไปตามยถากรรม พอจัดให้เจ้าหนุ่มคนนี้ลงเรือลำเล็กแล้ว เรือใหญ่ก็วิ่งแล่นไปค้าขายได้เหมือนเดิม แสดงว่าคนอกตัญญูนี้ไม่เจริญ คนที่อกตัญญูนี้ทำร้ายสังคมนี้ได้ แต่ดีอยู่อย่างหนึ่งเมื่อตอนเป็นเด็กๆ นั้นแม่พาเจ้าหนุ่มคนนี้ไปถือศีลอุโบสถทุกวันพระแปดค่ำ สิบห้าค่ำ เมื่อเรือนี้ลอยไป ก็ไปติดอยู่เกาะหนึ่ง เกาะนั้นเป็นเกาะที่สวยงามอยู่กลางทะเล พอขึ้นไปบนเกาะก็มีแต่ผู้หญิงทั้งนั้นเลย ผู้หญิงพวกนี้กลางวันเป็นคน กลางคืนเป็นเปรต คือครึ่งเปรตครึ่งคน

เจ้าหนุ่มก็คิดว่า เออกูสบายแล้ว กูลอยมาถึงเมืองนี้กูสบายแล้ว ได้เป็นเจ้าเมืองนี้ ก็เลยไปสมสู่กับพวกผู้หญิงเวมานิกเปรตนี้ พอได้สิบห้าวันก็เบื่อหน่าย ก็ขอไปอยู่ที่อื่น เจ้าหนุ่มคนนี้ไปได้ถึงสามเกาะ ไปเจอแบบนี้ทั้งหมด พอไปถึงเกาะสุดท้าย เกาะนี้กำแพงเมืองเป็นไฟลุก แล้วคนในเมืองนั้นในคอร้อยด้วยโซ่ทองแดง มือก็ร้อยด้วยโซ่ทองแดง มีไฟลุกท่วมตัว แล้วก็มีหูกงจักรทัดหู พอเจ้าหนุ่มนี้ไปเห็น ปุ๊บ! ก็คิดว่า เมืองนี้เจริญรุ่งเรืองไปด้วยทองคำ เพราะมันสว่างไปทั้งหมด เห็นไฟนรกนั้นเป็นทองคำ ก็เลยไปบอกกับคนที่โดนทรมานว่า

นี่คุณ แหม! ดอกบัวทองคำที่ทัดหูคุณนั้นสวยจริงนะขอหน่อยนะ

ไม่ใช่ นี่มันกงจักร

ไม่ใช่นี่มันดอกบัวทอง อย่ามาหวงกันเลย นี่สร้อยเส้นใหญ่ๆ ขอฉันใส่บ้างนะ

นี่มันโซ่เหล็กแดง

เจ้าหนุ่มคนนี้มันคิดว่าเป็นสร้อยทองคำ คนที่ใส่ก็บอกว่านี่มันเป็นโซ่เหล็กแดง นี่มันกงจักร เจ้าหนุ่มนั้นก็บอกว่าเอามาให้ฉันเถอะอย่างมาหลอกกันเลย

เจ้าคนที่จะพ้นนรกนั้นก็เลย คิดว่า เออ บุรุษคนนี้มีกรรมเหมือนเราเคยตีพ่อตีแม่มา จึงต้องมารับกรรมอยู่ในนรกขุมนี้เหมือนเรา จึงได้หยิบเอากงจักรของตัวเองนั้นใส่หูเจ้าหนุ่มคนนั้น จากที่เป็นดอกบัวทองก็กลายเป็นกงจักร์พัดหูเลย จากโซ่ทองคำนั้นก็กลายเป็นโซ่ทองแดงลุกไหม้ ร้องไห้ครวญครางอยู่เป็นพันเป็นหมื่นปี แล้วเจ้าคนที่ให้ก็พ้นนรกไป

ที่โบราณท่านบอกว่า ตีพ่อตีแม่จะไปลงนรกปทุมมะ ไปลงนรกดอกบัว ดอกบัวก็คือกงจักรนี่เอง เพราะอะไรจึงได้ไปเสวยความสุขในเกาะได้เกาะละสิบห้าวัน เพราะอานิสงส์ที่ตัวเองได้รักษาศีลอุโบสถกับแม่ ได้ไปเสวยทิพย์กับพวกนางเวมานิกเปรตสุดท้ายหมดบุญก็ไปตกนรก แสดงว่าคนเรานี้ต้องกตัญญูจึงจะทำกินเจริญแล้วก็ซื่อสัตย์ ผัวเดียวเมียเดียว ไม่มากชู้หลายผัวหลายเมีย แล้วสิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข…

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
http://www.vimokkha.com/truet.htm

วิธีจับวิญญาณ

การที่พวกเราได้เข้ามาทำบุญกุศลนั้น เป็นการทำให้จิตใตของเราเข้าใจใน เรื่องการทำบุญมากขึ้น เข้าใจในเรื่องปัญญา ได้รู้เรื่องความสงบของใจ ถ้าคนไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เหมือนคนเรียนดาราศาสตร์ กับโหรา ศาสตร์ อยู่ดีๆจะไปรู้เรื่องดวงดาวนั้น ดวงดาวนี้ไม่ได้ นี่คือสิ่งที่ลึกกว่า คนที่ไม่ได้เรียน พุทธศาสตร์ก็เหมือนกันคนที่จะรู้ได้ ก็เป็นคนที่เข้ามาศึกษา เล่าเรียน เพราะพุทธศาสตร์เป็นของที่ละเอียดลึกซึ้ง ยิ่งกว่าดาราศาสตร์ ยิ่งกว่าโหราศาสตร์ เพราะดาราศาสตร์เรียนเรื่องดวงดาวในท้องฟ้า โหรา ศาสตร์ก็เรียนเรื่องผูกดวงดาว หรือผูกดวงชะตาของคนโน้นคนนี้ แต่พุทธ ศาสตร์นั้นเรียนของที่มีอยู่ในตัวเรา ที่เราไม่รู้จักตัวเราท่านก็ให้ค้นหาศึกษาตัวเรา

null

พุทธศาสตร์สอนเรื่องวิญญาณ
แค่คำว่า ” วิญญาณ ” วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ โหราหศาสตร์ก็ไม่สามารถจะรู้เรื่องวิญญาณ…เกิดอย่างไร…ดับ อย่างไร แต่พุทธศาสตร์สอนให้รู้จักเรื่องวิญญาณ ว่ามีทั้งดีทั้งร้าย ทั้งบุญทั้งบาป ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งวิญญาณสัตว์ วิญญาณเทวดา วิญญาณมนุษย์ และในทุกจักรวาลล้วนแต่มีวิญญาณอยู่ทั่วไป แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปดู วิญญาณภายนอกอย่างเดียว ท่านต้องการให้ศึกษาวิญญาณภายใน ให้ดูแรงกระทบของวิญญาณวิญญาณที่เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาก็เป็นวิญญาณหนึ่ง(จักขุวิญญาณ) หูก็เป็นวิญญาณหนึ่ง(โสตวิญญาณ) จมูกก็เป็นวิญ ญาณหนึ่ง(ฆานวิญญาณ) ลิ้นก็เป็นวิญญารหนึ่ง(ชิวหาวิญญาณ) กายก็เป็นวิญญาณหนึ่ง(กายวิญญาณ) ใจก็เป็น วิญญาณหนึ่ง(มโนวิญญาณ) ฉะนั้นถ้าเข้าใจวิญญาณหกนี้ ก็เข้าใจธรรมอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้า
การค้นหาวิญญาณท่านบอกว่า…ต้องค้นหาในสติปัฏฐาน 4 นั่งก็ดี เดินก็ดี กินก็ดี คิดก็ดี นึกก็ดี ให้กำหนดเอาสติ เอาสมาธิ เอาปัญญานั่นเข้าไปจับจดจ่ออยู่กับอิริยาบถการเคลื่อนไหวของตัวเองจึงจะจับวิญญาณ ได้ ถ้าคนไหนจับวิญญาณได้ก็เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามีเป็นอรหันต์ เป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย สิ่งที่ไม่รู้ไม่มีเลย จากคนโง่กลายเป็นคนฉลาด จากคนหลงกลายเป็นคนไม่หลง จากผู้ไม่รู้กลายเป็นผู้รู้ เช่นพระพุทธ เจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นหาวิญญาณที่โคนโพธิ์ เพียงคืนหนึ่งท่านค้นพบวิญญาณ แล้วสามารถรู้จักการเกิดและการดับ ของวิญญาณได้ ท่านรู้ตั้งแต่หัวค่ำไปถึงเที่ยงคืน ท่านค้นในอายตนะทั้ง 6 นี่เอง พอท่านสำเร็จแล้วท่านก็สอนปัญจ วัคคีย์ให้รู้จักจับวิญญาณ ที่เราหลงท่องเทียวไปในสังสารวัฎ เมื่อดับวิญญาณได้แล้วจึงจะไปถึงนิพพาน
พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงวิธีการจับวิญญาณ เช่น เวลาตาเห็นรูป ตานั้นเป็นอายตนะภายใน รูปเป็นอายตนะ ภายนอก เมื่อตากับรูปกระทบกันเขาเรียกว่าเกิดจักขุวิญญาณ เมื่อกระทบกันแล้วก็เกิดผัสสะ เมื่อเกิดผัสสะก็เกิด เวทนา คือเกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ ก็เกิดตัณหาอุปาทาน เกิดกรรมเกิดวิบาก เกิดการยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา แล้ว ก็ส่งไปถึงใจ ดังนั้นที่ดีที่ชั่วได้ทุกวันนี้เพราะได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัส เราไม่รู้สิ่งที่มันเกิด กับตา กับหู กับจมูก กับลิ้น กับกาย กับใจ เราไม่รู้ทันอารมณ์ก็กลายเป็นทาสของอารมณ์ ก็ปล่อยให้มันเกิดจนเป็น โทษเป็นทุกข์ไป เป็นอุปาทานเป็นการยึดติดไปหมด เรื่องสิ่งเหล่านี้เป็นของละเอียดอ่อนทั้งหมดเลย ธรรมของพระ พุทธเจ้าจึงต้องรู้ด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ต้องมีสมาธิในการฟัง มีสมาธิในการจำ มีสมาธิในการปฏิบัติ มีสมาธิ ในการพิจารณาให้เห็นให้เข้าใจในเรื่องการประพฤติธรรมตรงนี้

ธรรมดับทุกข์
ที่เรามาเรียนเรื่องสติปัฏฐาน ๔ มาเรียนวิธีจับวิญญาณด้วยการเห็นสุข เห็นทุกข์ เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นใจตัวเอง เอาจิตเข้าไปจดจ่ออยู่กับการประพฤติปฏิบัติ เราก็จะรู้ได้ และก็จะเกิดความสบายอกสบายใจรื่นเริง บันเทิงใจเบิกบานสว่างไสวในจิตใจของเรา แต่ถ้าเราไม่รู้ เราก็ถูกอวิชาปิดบัง มันก็ไม่เข้าใจ คนที่อึดอัด หงุดหงิด ฟุ้งซ่านรำคาญใจมีอารมณ์ไม่สบายอกไม่สบายใจอยู่ตลอดวันตลอดคืนหรือตลอดชีวิต ดีใจก็ดีใจมาก เสียใจก็เสีย ใจมาก เพราะยังไม่รู้จักการเกิดและการดับของวิญญาณ คือยังไม่ได้ปฎิบัติธรรมนั้นเองจึงไม่รู้วิธีดับทุกข์ของตัวเอง พระพุทธเจ้าจึงสอนวิธีการทำบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ด้วยวิธีการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน คือการเข้าไปดูจิตดูวิญญาณ ของตัวเองให้ได้ เอาศีล สมาธิ ปัญญา ไปส่องสว่างดูว่า…วิญญาณที่พาเกิดพาตาย พาเวียนว่ายไปเป็นมนุษย์ ไปเป็น เทวดา ไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปนรกนี่มันอยู่ ที่ไหน ถ้าใครตามเจอตามพบก็เป็นอันจบวิญญาณ คือจบจิตก็ไม่ต้องไป เกิดอีกแล้ว ไม่ต้องไปร้องให้ ไม่ต้องไปเสียใจ ไม่ต้องไปทุกข์โศกความผิดหวังต่างๆก็หมดกัน แต่ตราบใดที่เรายัง ตามหาวิญญาณไม่เจอ ดับวิญญาณชั่วร้ายไม่ได้ เราก็ยังต้องทุกข์ ต้องโศกต้องมีโรคมีภัย มีความผิดหวังทั้งหลาย ทุกข์จะเข้ามา อยู่ในชีวิตของเราทั้งหมดเลย ฉะนั้นพวกเราทั้งหลายที่ทำบุญกุศลกันก็ต้องพยายามเข้าใจเรื่องธรรมของ พระพุทธเจ้า

เปิดใจตัวเอง
ถ้าเราฟังธรรมก็ไม่รู้เรื่อง นั่งสมาธิก็ไม่เข้าใจ พระอธิบายเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาล วิญญาณ ก็ฟังไม่รู้เรื่องอาจจะเข้าใจว่า…ทำไมคนอื่นเขาจึงทำกันได้ …ทำไมเขาจึงเข้าใจเรื่องนั้นได้…แล้วเรา เป็นใคร…มาจากไหน ก็ต้องไปหาครูบาอาจารย์เพื่อขอวิธีการปฏิบัติเปิดใจตัวเอง ด้วยการหัดเดินจงกรม ด้วยการหัดนั้งสมาธิ จับลมหายใจก็ได้ แล้วพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนังของตัวเราให้มากๆ คิดถึงตัวเรา ให้มากๆ แล้วก็เลิกคิดถึงคนอื่น ความสงบก็เกิดขึ้น ความหลงก็น้อยลง อันนี้ก็ช่วยเราให้เกิดปัญญาได้
เรายังมีโอกาส ยังมีเวลาอยู่นะ เรายังมีพระไตรปิฎกอยู่ในตัวเรา แต่เรายังไม่ได้เปิดอ่านเท่านั้นเอง เราต้องรู้จักเหตุของการเกิดความทุกข์ใจ และหาวิธีดับทุกข์ใจให้สู่ความสงบให้ได้ เมื่อทุกคนเข้าถึงความดับ ความว่างเปล่าได้แล้ว บุคคลนั้นจึงค่อยเข้าใจแก่นธรรมของพระพุทธเจ้า จึงจะค้นหาแก่นธรรมของพระพุทธ เจ้า โดยเปิดใจตัวเอง ดูวิญญาณตัวเอง แล้วจบตรงที่รู้จักวิญญาณตัวเอง ก็ไม่มีอะไรมาปิดบังปัญญาเราได้ แล้ว เราก็สามารถที่จะรู้แจ้งเห็นจริงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน ก็หายหลงหายโง่ได้
น่าเสียดายที่คนไทยชาวพุทธไทยยังไม่เป็นนักฟังที่ดี ยังไม่เป็นนักปฎิบัติที่ดี ยังไม่เป็นนักอ่านที่ดี ยังไม่รู้จักทุกข์ที่เกิดกับใจ ยังไม่รู้จักวิธีการดับทุกข์ที่ใจ ยังไม่รู้จักมรรคที่เกิดกับใจ ยังไม่รู้จักนิโรจน์ที่เกิด กับใจ แต่คนไทยเราชอบให้ทาน ชอบพิธีกรรม ชอบจะไปสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ชอบจะไปรดน้ำมนต์ ชอบไป หาหมอดู ชอบจะไปทอดกฐินทอดผ้าป่า ชอบปิดทองหล่อพระ คนไทยจึงได้แต่เปลือกพุทธศาสนา ไม่มีวิธี ปฎิบัติสติปัฏฐาน 4 ไม่รู้วิธีเจริญกรรมฐาน
ถ้าคนไทยเราเอาธรรมล้วนๆ มาปฎิบัติกันหมดทั้งประเทศ ประเทศเราจะมีความเจริญมากกว่านี้ คนเรา จะมีความสบายกายสบายใจจะมีความสุขมากกว่านี้ ความเจริญอย่างอื่นเท่ากับความสุขทางใจ ทุกคนก็จะมี ความหวังในพระพุทธศาสนา ว่าเป็นที่พึ่งของเราในบั้นปลายสุดท้ายได้แน่นอนเลย

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ

http://www.vimokkha.com/dhamlife.htm

พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จัมมขันธกะ
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสวยราชสมบัติเป็นอิสราธิบดี ในหมู่บ้านแปดหมื่นตำบล ก็สมัยนั้น ในเมืองจัมปา มีเศรษฐีบุตรชื่อโสณโกฬิวิสโคตร เป็นสุขุมาลชาติ ที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขามีขนงอกขึ้น คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้ราษฎรในตำบลแปดหมื่นนั้นประชุมกันแล้วทรงส่งทูตไปในสำนักเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะ ดุจมีพระราชกรณียกิจสักอย่างหนึ่ง ด้วยพระบรมราชโองการว่าเจ้าโสณะจงมา เราปรารถนาให้เจ้าโสณะมา จึงมารดาบิดาของเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้พูด ตักเตือนเศรษฐีบุตรนั้นว่า พ่อโสณะ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเท้าทั้งสองของเจ้า ระวังหน่อยพ่อโสณะ เจ้าอย่าเหยียดเท้าทั้งสองไปทางที่พระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ จงนั่งขัดสมาธิตรงพระพักตร์ของพระองค์ เมื่อเจ้านั่งแล้ว พระเจ้าอยู่หัว จักทอดพระเนตรเท้าทั้งสองได้ ครั้งนั้น ชนบริวารทั้งหลายได้นำเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะไปด้วยคานหาม ลำดับนั้นเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราชถวายบังคมแล้วนั่งขัดสมาธิตรงพระพักตร์ของท้าวเธอ ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นโลมชาติที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขา แล้วทรงอนุศาสน์ประชาราษฎรในตำบลแปดหมื่นนั้น ในประโยชน์ปัจจุบัน ทรงส่งไปด้วยพระบรมราโชวาทว่า ดูกรพนาย เจ้าทั้งหลายอันเราสั่งสอนแล้วในประโยชน์ปัจจุบัน เจ้าทั้งหลาย จงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคของเราพระองค์นั้นจักทรงสั่งสอนเจ้าทั้งหลาย ในประโยชน์ภายหน้า ครั้งนั้น พวกเขาพากันไปทางภูเขาคิชฌกูฏ.

พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ก็สมัยนั้น ท่านพระสาคตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค จึงพวกเขาพากันเข้าไปหาท่านพระสาคตะ แล้วได้กราบเรียนว่า ท่านขอรับ ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนี้ เข้ามาในที่นี้เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขอประทานโอกาสขอรับ ขอพวกข้าพเจ้าพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระสาคตะบอกว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งก่อน จนกว่าอาตมาจะกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ดังนี้ และเมื่อพวกเขากำลังเพ่งมองอยู่ข้างหน้า ท่านพระสาคตะดำลงไปในแผ่นหินอัฒจันทร์ผุดขึ้นตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนี้พากันเข้ามา ณ ที่นี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรสาคตะ ถ้ากระนั้นเธอจงปูลาดอาสนะ ณ ร่มเงาหลังวิหาร ท่านพระสาคตะทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า ทราบเกล้าฯ แล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วถือตั่งดำลงไปตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เมื่อประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้นกำลังเพ่งมองอยู่ตรงหน้าจึงผุดขึ้นลากแผ่นหินอัฒจันทร์แล้วปูลาดอาสนะในร่มเงาหลังพระวิหาร.

เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากพระวิหาร แล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ ณ ร่มเงาหลังพระวิหาร จึงประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และพวกเขาพากันสนใจแต่ท่านพระสาคตะเท่านั้น หาได้สนใจต่อพระผู้มีพระภาค ไม่ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวกเขาด้วยพระทัยแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระสาคตะมารับสั่งว่า ดูกรสาคต ถ้ากระนั้น เธอจงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก

ท่านพระสาคตะทูลรับสนองพระพุทธาณัติว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บังหวนควันบ้าง โพลงไฟบ้างหายตัวบ้าง ในอากาศกลางหาว ครั้นแสดงอิทธิปฏิหาริย์อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์หลายอย่างในอากาศกลางหาว แล้วลงมาซบศีรษะลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้าข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก ดังนี้ จึงประชาชนตำบลแปดหมื่นนั้นพูดสรรเสริญว่า ชาวเราผู้เจริญอัศจรรย์นัก ประหลาดแท้ เพียงแต่พระสาวกยังมีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้ ยังมีอานุภาพมากถึงเพียงนี้พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้วพากันสนใจต่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่

ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวกเขาด้วยพระทัย แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถาโทษ ความต่ำทรามความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกบรรพชา เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าพวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัยนิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้า ที่สะอาด ปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้าภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายเปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะออกบวช
[๒] ครั้งนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้มีความปริวิตก ดังนี้ว่า ด้วยวิธีอย่างไรๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่ายไฉนหนอ เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ครั้นประชาชนเหล่านั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว หลังจากประชาชนพวกนั้นหลีกไปแล้วไม่นานนัก เขาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่าพระพุทธเจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไรๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วอันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วทำไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้รับบรรพชา อุปสมบทในพุทธสำนักแล้ว ก็แลท่านพระโสณะอุปสมบทแล้วไม่นาน ได้พำนักอยู่ ณ ป่าสีตวันท่านปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าทั้ง ๒ แตกสถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น.

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาค ที่ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉนจิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์แล้วบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านด้วยพระทัยแล้ว จึงทรงอันตรธานที่คิชฌกูฏบรรพต มาปรากฏพระองค์ ณ ป่าสีตวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น คราวนั้น พระองค์พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมากเสด็จเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางสถานที่เดินจงกรมของท่านพระโสณะ ได้ทอดพระเนตรเห็นสถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ครั้นแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่เดินจงกรมแห่งนี้ของใครหนอ เปื้อนโลหิต เหมือนสถานที่ฆ่าโค ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ท่านพระโสณะปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าทั้ง ๒ แตก สถานที่เดินจงกรมแห่งนี้ของท่านจึงเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้นพระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของท่านพระโสณะ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แม้ท่านพระโสณะก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งเฝ้าอยู่.

ตั้งความเพียรสม่ำเสมอเทียบเสียงพิณ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโสณะผู้นั่งเฝ้าอยู่ว่า ดูกรโสณะ เธอไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ได้มีความปรีวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาคที่ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉน จิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์ แล้วบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ดังนี้ มิใช่หรือ?
ท่านพระโสณะทูลรับว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอฉลาดในเสียงสายพิณ มิใช่หรือ?
โส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอตึงเกินไปคราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอหย่อนเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก ตั้งอยู่ในคุณภาพสม่ำเสมอ คราวนั้น พิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
โส. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูกรโสณะ เหมือนกันนั่นแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปนัก ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ จงทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น
ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระพุทธพจน์ว่า จะปฏิบัติตามพระพุทธโอวาทอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทข้อนี้แล้ว ทรงอันตธานที่ป่าสีตวันต่อหน้าท่านพระโสณะ แล้วมาปรากฏพระองค์ ณ คิชฌกูฏบรรพต เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

พระโสณะสำเร็จพระอรหัตผล
ครั้นกาลต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ ทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอ ครั้นแล้วได้หลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาทมีเพียร มีตนส่งไป ไม่นานเท่าไรนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งแล้ว

พรรณนาคุณของพระขีณาสพ
[๓] ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่า ถ้ากระไรเราพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค ว่าดังนี้:-

พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วมีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ของตนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่เหตุ ๖ สถาน คือ
๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา
๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด
๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน
๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน
๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ
๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงไหล
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัยคุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ

พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้วจึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียนโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ… จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตน ราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ… จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหาโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ… จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหลโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ

พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้น อันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต …. แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ …. แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา …. แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย …. แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น

พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกัน แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลยแม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก …. แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ …. แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหว สะเทือนสะท้านไม่ได้เลย แม้ฉันใด.

พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น. แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต …. แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยฆานะ …. แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยชิวหา …. แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย …. แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.

นิคมคาถา
[๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ ๑ ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นอุปาทาน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑
ผู้น้อมไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑ ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว
ท่านย่อมพิจารณา เห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒/๒๗๘

วิชาอยู่ยงคงกระพัน

การที่กระผมได้เห็นพระคุณเจ้าตั้งใจ ที่จะมาอบรมวิปัสสนากรรมฐาน กระผมก็เคยได้ศึกษามาตามรูปแบบครูบาอาจารย์ เมื่อก่อนก็เที่ยวไปอย่างไม่มีจุดหมายปลายทางเหมือนกัน เที่ยวธุดงค์ไปทางเหนือทางใต้ แล้วก็นั่งกรรมฐาน สนใจตั้งแต่ยังไม่บวช พอบวชแล้วก็สนใจมากขึ้น พอเรียนรู้กรรมฐานก็เหมือนไม่มีครูบาอาจารย์ ตอนหลังกระผมกลับมาศึกษากับหลวงพ่อสังวาล เขมโก ที่วัดเขาสารพัดดี จ.ชัยนาท ตอนหลังท่านมาอยู่ที่วัดทุ่งสามัคคีธรรม จ.สุพรรณบุรี

ท่านเป็นพระไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ท่านทำสมาธิได้ ทำเรื่องฌาน เรื่องสมาธิได้ อันนี้กระผมเชื่อว่าท่านทำได้และท่านก็ได้มาสอนในแนวสติปัฏฐาน ๔ กระผมได้มาเข้าใจแนวการทำสมาธิอย่างง่ายๆ สำหรับวิธีการของท่าน พอเอามาใช้แล้วก็นำไปแนะนำชาวบ้านแล้วก็ได้ผล ชาวบ้านก็ทำตามได้ง่าย คือว่าไม่ใช่เป็นวิชาที่ยาก จนถึงกับลึกลับจนเกินไป ถึงกับต้องขึ้นครู ถึงกับต้องมีขัน ๕ อะไรอย่างนั้น คือกระผมต้องการเรียนรู้ของที่คว่ำแล้วให้หงายออกมาง่ายๆ ประเภทที่ว่าไม่ใช่ติดกุญแจดอกใหญ่จนไขไม่ออก ต้องไปหาดอกสำคัญมาอะไรอย่างนี้ ท่านก็สอนง่ายๆ

สอนอานาปานุสสติ (กำหนดลมหายใจเข้า-ออก) กับปัญจกรรมฐาน (กรรมฐาน ๕ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง) และสอนสติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) ซึ่งกำหนดแบบละเอียด แบบยืน เดิน นั่ง นอน แบบที่อาจารย์ท่านได้สอน กระผมได้ปฏิบัติอยู่กับท่านถึง ๓ ปี ก็แนวสติปัฏฐาน ๔ นี้เป็นหลักพระไตรปิฎก ซึ่งยืนยันว่าเป็นทางที่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าก็ได้สอนสาวกทั้งหลายมาด้วยแนวสติปัฏฐาน ๔ พอมาปฏิบัติกับท่านก็เป็นเรื่องที่เราก็เข้าใจเรื่องสติได้มากขึ้น ว่าการปฏิบัตินั้นคือเราไม่สามารถจะคุมสติตัวเองได้ เมื่อเผลอสติแล้วก็นำไปสู่อารมณ์โลกต่างๆ ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ปรุงแต่งไปในอารมณ์ต่างๆ ที่ท่องเที่ยวอยู่ พอเรามีสติควบคุมการนั่งนอนของเรา มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในอารมณ์กรรมฐาน

เอากายของเราเป็นกรรมฐาน มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ในกายของเรานี่เอง พอไปจับกายตามความเป็นจริงได้จิตมันก็ไม่ไปอื่น จิตก็ไม่เที่ยวไปถิ่นต่างๆ ไม่ไปสู่กามภพ ไม่ไปสู่รูปภพ ไม่ไปข้างหน้า ไม่ไปข้างหลัง เมื่อจิตใจมีสติแล้วก็เข้าใจเรื่องพระพุทธศาสนา ก็เป็นคำตอบที่มีอยู่ในตัวเสร็จ

ฉะนั้นสติปัฏฐาน ๔ ก็มีหลักที่พระคุณเจ้าได้ปฏิบัติกันอยู่แล้วคือกาย เวทนา จิต ธรรม มีกายเป็นหลัก คือกำหนดกายของเรานี่เองกายที่มีอาการ ๓๒ กายกิน กายเดิน กายนั่ง กายนอน กายถ่ายอุจจาระปัสสาวะ กายเคลื่อนไหวอะไรก็กำหนด เอาจิตมาไว้ที่กาย เอาสติมาจับไว้ที่การเคลื่อนไหว เรียกว่ากำหนดสติปัฏฐาน คือกำหนดกาย กายยืน กายเดิน กายนั่ง กายนอน ก็กลายเป็นพระ เมื่อกำหนดกายชัด หนักเข้าๆ สติติดต่อกันก็เกิดรูปกรรมฐานขึ้นมา

พอเกิดรูปกรรมฐานขึ้นมาก็รู้เวทนา เวทนาเราก็กำหนดในอารมณ์ตัวเองว่าสุขที่เกิดขึ้นกับจิต ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส ใจสัมผัสยินดี ยินร้ายก็กำหนดที่จิต มีสุขบ้างมีทุกข์บ้าง แล้วมีวางเฉยบ้าง ก็กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์ เพราะเมื่อกระทบแล้วจิตต้องมีเวทนา มีความดีใจบ้าง เศร้าหมองใจเป็นธรรมดา เราก็ตั้งสติให้มากขึ้น มีการกำหนดรู้มากขึ้น เมื่อเรากำหนดมากขึ้นจิตก็ปล่อยวางได้ ปล่อยวางต่อทุกขเวทนาทั้งปวงได้ ก็เป็นอุเบกขาได้ เมื่อเรารู้มากๆ ขึ้นมา จิตอันนี้ก็เจริญเป็นมรรคขึ้นมา

มรรคก็กำหนดรู้จิตเห็นจิตอยู่เสมอไป จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็กำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ทางจิต เรียกว่าจิตตานุปัสนาปฏิปัฏฐานา ตั้งไว้ที่จิตของเรา พิจารณาจิตอยู่ภายใน เมื่อเรารู้จิตของเรา นั่นแหละฐานที่ตั้งของความสงบ มรรคาปฏิปทา การปฏิบัติเข้าไปสู่ฐานจิต นั่นคือการปฏิบัติที่ถูกต้อง ถ้าปฏิบัติอะไรไม่เข้าสู่ฐานจิตแล้วนั่นคือเป็นโมหะ เป็นโลภะหรือเป็นโทสะ เพราะกำหนดออกนอกกายการกำหนดเข้ามาในกายในใจนั้นคือฐานที่ตั้ง เรียกว่าฐานที่ตั้งของความสงบ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นได้ เมื่อปัญญาเกิดขึ้นได้ก็เป็นผู้ละ ผู้ตัด ผู้วาง จากราคะ โทสะได้ ก็เป็นธัมมานุปัสนาปฏิปัฏฐานา พิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นในอารมณ์กรรมฐาน มีปีติ สุข เอกัคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว) บางครั้งก็เกิดมาก บางครั้งก็เสื่อมถอยลงไป เมื่อเจริญมากๆ ขึ้นก็เป็นธรรมะที่ปรากฏ เป็นญาณ ทำให้เรารู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจธรรมได้ ให้เห็นอนิจลักษณะได้ (ความไม่เที่ยง)

พิจารณากายมากๆ กรรมฐานนี้อยู่ที่กายส่วนใหญ่ กายกิน กายเดิน กายนั่ง กายนอน ต้องตั้งต้นอยู่ตรงนี้อยู่ตลอดเวลา จะภาวนาอะไรก็ได้ อานาปานุสสติก็ได้ หนอก็ได้ ก็ขอให้จิตของเรามาอยู่กับกาย แล้วให้รู้อารมณ์ของตัวเองตลอดวันตลอดคืน เราก็ต้องเฝ้าดูจิตดูใจของเรา นักปฏิบัติเมื่อรู้อย่างนี้ ก็พอที่จะเข้าใจวิธีการประพฤติปฏิบัติ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ้นความสงสัยในเรื่องศาสนาพุทธนี้ เราก็มีพยานยืนยันที่เกิดขึ้นในตัวเราแล้ว ก็มั่นใจที่จะนำคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปประกาศให้คนอื่นได้ทราบต่อไปได้

อันนี้เป็นอารมณ์กรรมฐานง่ายๆที่อาจารย์สอน อาจารย์ที่สอนก็สอนให้เราอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำงานอะไรมาก เหมือนอย่างที่พระคุณเจ้ามาอยู่นี่ ไม่ต้องทำงานไม่ต้องก่อสร้างอะไรทั้งหมด ไม่ต้องคุยกับใคร เหมือนอย่างที่สำนักลำเปิงเขาสอน เดิน ยืน นั่ง นอน แบบไม่ต้องพูดคุยกับใคร กินคนเดียว นอนคนเดียว ทำแต่สติตลอดวัน ไม่ต้องอ่านหนังสือ ไม่ต้องสวดมนต์ ไม่ต้องเขียนหนังสือ ทำแต่ดูจิตอย่างเดียว กระผมก็ได้เคยทำมา ๓ ปี ทำวิธีสติปัฏฐาน ๔ นี้มี ผลานิสงส์อย่างมาก ที่เราจะเข้าถึงพุทธศาสนาได้โดยตรง ถึงแก่น

การเป็นพระ..ก็มารู้จักคำว่าเป็นพระตรงที่เราได้เข้ามาปฏิบัติธรรมนี่เอง ถ้าเราเป็นพระแล้วไม่มีโอกาสปฏิบัติธรรมแล้วเราก็ไม่รู้ว่าเป็นพระกันตรงไหน พุทธศาสนาอยู่ที่ใคร นึกว่าอยู่ที่ตำรับตำรา ในตู้พระไตรปิฏก พอเรามารู้เรื่องจิตใจก็รู้เรื่องพุทธศาสนาอยู่ที่ใจของเรา เรามีที่พึ่งคือทำใจ เรามีที่พึ่งคือศีล คือสมาธิ คือการเจริญใจของเราให้งอกงามขึ้น เราก็รู้ว่าอกุศลกรรมนี้ที่มันให้ผลในชาตินี้และในชาติที่แล้วมาก็คือรู้จักกรรมที่ใจของตัวเอง ถ้าเราทำใจดีแล้วผลดีมันก็ออกมา ถ้าเราทำใจไม่ดีผลไม่ดีมันก็จะออกให้ผลกับเรามาเป็นทุกข์เร่าร้อนตลอดไป แต่ถ้าเราทำกายวาจาใจมีศีลมีธรรม ผลความสุขสงบทางใจมันก็เกิดขึ้นกับตัวเรา เป็นผลสะท้อนที่เกิดขึ้นมาจากจิตใจ อันนี้พุทธศาสนาก็เลยเข้าถึงทางด้านจิตใจของบุคคล ก็คือปฏิบัติตามคำสอน

ตอนที่ผมได้ปฏิบัตินั้นก็ได้ทิ้งหมดเลย คือว่าปฏิบัติแบบว่าไม่เอาอะไร เครื่องรางของขลังก็ทิ้งหมด เมื่อก่อนผมชอบมากเครื่องรางของขลัง ตะกรุด ผ้ายันต์ ตอนเป็นฆราวาสผมชอบอิทธิฤทธิ์ ชอบเล่นวิชาอาคมตั้งแต่เล็กๆ ชอบมากเลย เครื่องรางของขลังท่านคงทราบอยู่แล้วว่าเมืองสุพรรณฯ เป็นเมืองพระ เมืองนิยมวิชาอาคมพวกนี้อยู่แล้ว แต่ว่าพวกนี้เป็นสายเลือดที่สืบกันมา พอมาปฏิบัติแล้วอยากจะรู้เรื่องแบบปฏิบัติโดยตรง

พรรษาแรกก็ยังสนใจเล่นของ ยังเอากล้องไปส่องพระว่าองค์ไหนแท้ องค์ไหนไม่แท้ ส่องดูองค์ไหนเก่า องค์ไหนไม่เก่า กรุขึ้นหรือไม่ขึ้น รุ่นไหนแท้หรือไม่แท้ ชอบใจพระ แต่พอมาเจริญสติปัฏฐาน ๔ กับหลวงพ่อสังวาล กลับเปลี่ยนใจได้เลิกเล่นเลย ออกมาผมก็ยกให้เขาหมดเลย หลวงพ่อไหนแท้ไม่แท้อยู่ที่ใจอย่างเดียว อันนั้นเป็นพระสมมติทั้งหมด ตะกุด ผ้ายันต์ ทองเหลือง ทองแดง จะเป็นสมเด็จรุ่นไหนก็เป็นวัตถุธาตุ พระที่แท้คือศีล สมาธินี่เอง ก็เลยเอาพระออกหมดเลย ทิ้งออกจากย่ามหมด พวกคนเขาดีใจว่าให้พระเขา ให้เครื่องรางของขลังเขา

ตอนที่ผมยังไม่บวช พระของผมที่ผมเล่น พออธิษฐานฟาดสายรุ่งแล้วสายรุ้งจะขาด เพื่อนก็วิ่งมาหาผม บอกว่า นี่ลองพระดูที เพราะเพื่อนรู้ว่าที่บ้านมีพระของเก่าๆ เยอะ ผมก็ไม่ได้คิดอะไร ก็ลองอธิษฐาน พออาราธนาพระก็เอาพระจับฟาดสายรุ่งเลย พอฟาดเข้าไปสายรุ้งจะแหวกขาดเลย เราก็ไม่เชื่อสายตา พอฟาดทางนี้อีกทีก็ขาดทางนี้อีกที ฟาดสามท่อนก็ขาดสามท่อน อานุภาพพุทธคุณ ธรรมคุณนี้มีจริง แต่ว่าเป็นวัตถุธาตุ ผมก็เชื่อว่ามีเมื่อสมัยก่อน ก็เล่นครับ พระนี่เอาใส่ปากปลาแล้วฟันไม่เข้าหรอกครับ พระเมืองลำพูนนี่แหละครับ ลำพูนแดง ลำพูนดำ เอาใส่ปากปลาฟันจนปลาตายจึงจะเข้า หนังไม่ขาดหรอก ให้ผู้หญิงฟันก็ได้ ให้ผู้ชายฟันก็ได้

เหมือนคนที่เขาเล่นวิชาจริงๆ เคี้ยวตะกั่วเอามือจิ้มได้ ผมยังเคยไปจิ้มกับเขาเลย คนที่อู่ทองเคี้ยวตะกั่วแล้วเอามือไปจิ้มตะกั่วได้ของหายนี่ลองอธิษฐาน ถ้าคนไหนขโมยแล้วจิ้มไม่ได้ จิ้มแล้วตะกั่วติดเลย เรื่องจิ้มตะกั่วนี่เราก็นึกว่าเป็นเรื่องหลอกเด็ก แต่พอมาเจอกับตัวเองจึงได้เชื่อว่ามีจริงๆ เมื่อปี ๒๕๐๐ ผมยังได้ไปจิ้มกับเขาเลยของหายในวัด เอาเณรกับเด็กจิ้มก่อน ผมอยู่เป็นเณรผมก็ไปจิ้ม

เขาบอกว่า จิ้มไปเถอะคนไหนบริสุทธิ์ไม่ติดหรอกครับ

มีเณรองค์เล็ก จิ้มแล้วละๆ เพราะกลัวติด

เขาบอกว่า ถ้าไม่ได้ลัก..จิ้มไปเถอะ

พอจิ้มไปแล้วมันก็ไม่ติด ทั้งๆ ที่เณรใจเสียแล้วนะครับ เขาบอกว่าถ้าคนไหนรู้เห็นแล้วติดเลยนะ..ตะกั่ว

ที่เรากล้าจิ้มเพราะว่าคนที่เขาเคี้ยวตะกั่วเขาเอามือช้อนขี้ตะกั่วออกได้ แล้วเขาให้สมภารวัดจิ้มก่อน มีจริงครับของพวกนี้ วิชาอาคมพวกนี้ผมได้เห็นกับตัวเองมาเยอะในประสบประการณ์ แต่พอมาทำกรรมฐานแล้วถือว่ามันเป็นของติดงมงาย ถึงจะนำญาติโยมให้ทำตามได้แต่ก็ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางพระพุทธเจ้าสอน เป็นของโลกีย์ก็เลยทิ้งหมดเลย

พอมาเจอหลวงพ่อสังวาล ผมก็เลิกหมดเลยของพวกนั้นไม่ติดใจ พอผมมานั่งสมาธิที่ป่าช้า มันก็มาปรากฏอีกของพวกนี้ มาปรากฏให้เราอยากได้อีกผมก็ไม่เอา พอเข้าปีที่ ๓ พอนั่งๆ ไป ยุงมากัดไม่เข้าหรอกครับ ยุงมาตอด มากัด เหล็กหมาดคดหมด ผมมานึกว่า

เอ้..! อารมณ์แบบนี้ยุงกัดไม่เข้า สงสัยอารมณ์ที่เขาเอาไปเล่นอยู่ยงคงกระพันมั้ง

เอาไปเสกอุด เสกอัด ไม่ให้ปืนออกอะไรอย่างนั้น ผมก็ลองนั่งอยู่ตลอดวัน ทำอารมณ์นั้นแล้วยุงก็กัดไม่เข้า ยุงนี่กัดปากคดหมดที่แรกผมนึกว่ายุงตัวนั้นมันปากหัก กินเลือดคนไม่ได้ มันกัดตลอดไปเอาปากมาทิ่มกับเนื้อเรามันก็คดแล้วมันก็บินหนีไป ตัวใหม่มาก็แบบนั้นแหละ ทั้งวันมีตัวไหม่เข้ามากัดแบบนั้นปากคดหมด กินเลือดเราไม่ได้

พอวันที่สองเราก็ลองอีกมันก็เป็นอย่างนั้นแหละ ถ้าลองทำอารมณ์นั้นยุงจะกัดไม่เข้าเลย พอกำหนดจิตปุ๊บตรงนั้น ยุงกัดจะปากคดทันที แต่ถ้าปล่อยจิตดวงนั้นยุงก็กัดเข้า

ผมบอก เอ้..! ถ้าอย่างนี้แสดงว่าวิชานี้เป็นวิชาอยู่ยงคงกระพันยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า

แต่อาจารย์สั่งไว้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีตัวตนอะไรของไม่เที่ยงแท้อย่าไปยึด

ผมก็เลยไม่เอา ถ้าติดตรงนี้เดี๋ยวก็ไปเป็นเกจิอาจารย์กับเขาคงต้องไปนั่งเสกตะกุด ทองเหลือง ทองแดงกับเขา แต่ได้ผ่านอารมณ์นี้เห็นกับตัวเอง แล้วเวลาไปกำหนดตรงนั้น กล้องก็ถ่ายไม่ติด กล้องนี่เสียเลยถ้าถ่าย พังเลย พอเราเล่นอารมณ์นั้น เราก็ถือว่าไม่ใช่อารมณ์กรรมฐาน ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนา มันเป็นเพียงจิตดวงหนึ่งที่มีอารมณ์เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรม อันนั้นเราก็ส่งอารมณ์ให้กับครูบาอาจารย์ไม่ได้ ท่านไม่ได้สอนเรา แต่ก็ถือว่าถ้าบุคคลใดได้ปฏิบัติมีบารมีแก่กล้า ก็ได้เองสิ่งพวกนี้ ถ้าเราไม่ถึงวาระนั้นมันก็ไม่เกิดกับเรา ก็ต้องเกิดจากผลของศีล สมาธิที่มีอยู่ในตัวเรา

แต่ก่อนผมก็สนใจเล่นเรื่องกสิณ (ชื่อกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐมวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม) ,ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นิล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว) ) แต่แอบเล่นเรื่องกสิณ เพราะสนใจเรื่องกสิณมากเป็นพิเศษ ตอนหลังก็พอเข้าใจแล้วจึงเลิก ก็เลยรู้ว่ากรรมฐานนี่เป็นอุบายทั้งหมด กรรมฐาน ๔๐ นี่เป็นอุบายให้จิตของเราเป็นหนึ่ง เพื่อที่เราจะได้เข้าไปรู้เรื่องจิตใจตัวเอง แล้วก็ไปรู้การละ ปล่อยวางให้เป็น ที่ผมได้ปฏิบัติมากับครูบาอาจารย์ก็นับว่าเราได้ครูบาอาจารย์ที่ดีแล้ว เป็นโอกาสให้เราได้เดินทางต่อไป เพราะท่านสั่งไม่ให้เรามีอะไรมากมาย แล้วก็ยิ่งเป็นพระธุดงค์แล้วยิ่งง่ายในการใช้ชีวิตมากเลย ไปไหนก็เตรียมบาตรลูกหนึ่ง กลดคันหนึ่ง

ผมเชื่อเหลือเกินว่าพระร้อยกว่ารูปนี้ไปที่ไหนก็คงไม่อด เพราะญาติโยมรู้ว่าพระเราเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ แล้วก็อยากจะศรัทธาทำบุญกุศล ฉะนั้นเมื่อออกไปแล้วพระคุณเจ้าจะไปเผยแพร่ธรรมะให้กับญาติโยม ญาติโยมก็ศรัทธาผู้เผยแพร่ หมายถึงว่าก็ต้องเสียสละ ยิ่งสันโดษเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น พระยิ่งสันโดษเท่าไรก็เป็นผู้ที่น่ารักเป็นผู้ที่น่าเคารพยิ่งไม่เอาอะไรยิ่งดีใหญ่ เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่เอาอะไร มนุษย์และเทวดาทั้งหลายจึงยอมรับความคิดของพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ท่านเป็นผู้บริสุทธิคุณ มหากรุณาธิคุณ และปัญญาธิคุณ

ที่ท่านสามารถปฏิบัติตัวเป็นผู้นำได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราจะได้รับผลไป เพราะว่าผลที่เราจะไปทำงานให้พุทธศาสนา ท่านจะเสียสละได้มากแค่ไหน เหมือนกับท่านพระครูเจ้าคณะอำเภอท่านเสียสละ ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เสียสละความสุขส่วนตัวให้กับส่วนรวม ถึงจะลำบากในการมาอบรมพระท่านก็มา แต่ทีนี้งานที่เสียสละของพวกเรานั้นแหละที่จะทำให้กับตัวเองและก็สังคม แต่ถ้าเสียสละไม่ได้ก็เจริญไม่ได้ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า

การที่ไปสั่งสอนประชาชน ความเป็นจริงเราอย่ามุ่งสอน การมุ่งสอนนั้นจะทำให้เราผิดหวัง เหมือนอย่างเราได้อบรมไปแล้ว ธรรมะเกิดแล้วหละ กลับไปวัดอยากจะเทศน์ให้โยมฟัง พอได้รู้อะไรเยอะๆ กลับจะไปเทศน์ใหญ่เลยคราวนี้ ความตั้งใจที่เราจะไปเทศน์นั้น บางทีมันล้มละลาย พอไปเทศน์เข้าจริงๆ โยมเขารับไม่ไหว โยมรับไม่ได้ โยมเบื่อ โยมยังเตรียมใจไม่พร้อม

ผมเคยไปอบรมญาติโยมกัน ไปกับเพื่อนพระ แต่ที่จริงเพื่อนรุ่นพ่อ ท่านบวชทีหลังแต่ว่าท่านรู้มากกว่าเรา ท่านศึกษามาจากวัดมหาธาตุและท่านเรียนรู้มากตอนเป็นฆราวาส แล้วท่านบวชจากธรรมยุติท่านก็มีธรรมะดีก็ไปเผยแพร่กัน ภาคกลางก็ไปเผยแพร่ โยมมาฟังธรรมะเราเขาไม่นิมนต์ไปหรอก เพราะเราพูดไม่เก่ง แต่เราพูดไม่เหมือนท่าน เขาก็นิมนต์พระเพื่อนนั้นไปเทศน์ที่วัด คนเต็มศาลาเลยครับ ท่านเทศน์เรื่อง อริยสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘ เรื่องการเป็นโสดาบัน เราทำบุญกันอย่างไรจึงจะเป็นโสดาบัน ทำกันมาตั้งนานแล้วยังไม่รู้จักบุญ ท่านพูดให้ญาติโยมเข้าใจ แต่ท่านพูดไม่หยุด พูดถึงสามสี่ชั่วโมง โยมก็ฟังได้บางแห่ง

พอท่านกลับมาถึงวัด ผมจึงถามท่านว่า

เป็นอย่างไรบ้างครับ โยมที่นี่

แหม! โยมที่นี่ศรัทธาดีจังเลย ฟังกันไม่ยอมลุกเลย พรุ่งนี้จะต้องไปโปรดใหม่

พอพรุ่งนี้ไป โยมมาฟังอีก แต่คราวนี้เหลือครึ่งศาลาครับ สู้ไม่ไหว สู้พระเทศน์ไม่ไหวครับ พอวันที่สามไปอีกเหลือสองคนครับ หมดครับ สามวันเทศน์เกลี้ยงศาลาเลยครับ ธรรมะมันเกิด เราก็ไม่รู้จะเตือนอย่างไรได้ โยมรับไม่ไหว ธรรมะพระมากไป

แต่ที่เราอยู่ที่นั่นก็ไม่ได้เทศน์อะไรมาก โยมก็มานั่งกรรมฐานกันมากขึ้นๆ จนเป็นวัดขึ้นมา จากวัดร้างจนกลายมาเป็นวัดมีพระสงฆ์จนสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ท่านเทศน์เองนะครับอยู่ที่ไหนไม่ได้ครับ อยู่พรรษาสองพรรษาก็ไปแล้วเพราะมีปัญหา เทศน์ไม่ได้วัดครับ เทศน์ไม่ได้ลูกศิษย์ด้วย เทศน์ดีจริงๆ ครับ ผมฟังผมก็ชอบว่าเทศน์ได้ดี แต่เทศน์ไม่ได้ลูกศิษย์ มันเป็นกรรมอะไรของท่าน ให้พิจารณาดู มีเพื่อนพระหลายองค์ ความรู้ดีนะครับไม่ใช่ไม่ดี บางองค์บอกว่า

ผมไม่มีวาสนามั้ง ผมนี่อุตส่าห์เผยแพร่มานานแล้ว แต่ยังตั้งสำนักไม่ได้

แล้วก็ไปเทศน์กันที่จังหวัดประจวบ ท่านเป็นโรคปวดหลัง ท่านตัดกระดูกออก พอท่านนั่งฟังเราเทศน์ ท่านจะบอกว่า

อาจารย์ผมเหนื่อยแล้วครับ ผมไปนอนก่อน หลังไม่ดี

พอท่านนั่งฟังเราแล้วท่านปวดหลัง แล้วท่านก็กลับไปนอน พอวันรุ่งขึ้นผมรู้ วันนี้ต้องให้หลวงพ่อเทศน์แทนหน่อย จึงบอกว่าวันนี้หลวงพ่อเทศน์นะครับผมจะพักผ่อน

ท่านก็ดีใจ ท่านชอบเทศน์ ท่านเทศน์ตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่างเลยครับ ท่านเทศน์ได้ไม่ปวดหลังเลยครับ แต่พอฟังเราเทศน์เดี๋ยวเดียวก็ปวดหลัง

พอได้สามวันแล้วผมก็ชวนท่านกลับ กลัวโยมเบื่อ โยมเขาบอก

แหม! ชอบใจพระองค์นั้น คราวหลังนิมนต์มาเทศน์อีกนะ

ผมไม่พาท่านไปอีกเลยครับ ถ้าพาไปอีกคราวนี้หมดเลย ไม่มีใครมาฟังเลย ธรรมะนี้สำคัญ คือมันเกิดเราก็ต้องรู้ รู้มันดับ ถ้าเกิดแล้วไม่รู้มันดับนี่มันจะไม่ดับ มันจะปรุงแต่ง เราก็ไม่สามารถไปรู้ใจคนได้ ไม่สามารถที่จะให้เข้าถึงศรัทธาญาติโยมได้ การแสดงธรรมให้กับญาติโยม บางทีไม่จำเป็นต้องแสดงอะไรมาก เพียงแค่ทำตัวอย่างให้เขาดูเท่านั้นเอง เดินสงบ นั่งสงบ นอนสงบ กินสงบ กิริยาวาจาอาการแสดงออกมาสงบ ที่ออกมาจากใจ ส่วนนั้นแหละเป็นการเทศนาสั่งสอนขั้นเบื้องต้น เป็นปฐม อันนั้นแหละที่จะนำศรัทธาญาติโยมมาให้ฟังธรรมของเรา

และเมื่อเราทำอาการสงบกายวาจาใจเรียบร้อยแล้ว คำเทศน์ที่เราแสดงไปก็ได้ผล แต่ว่าถ้าเราไม่สำรวมกายวาจาใจ จะแสดงธรรมสักกี่จบ กี่กัณฑ์ ก็ไม่เกิดผลอะไร ศรัทธาเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะผู้ที่แสดงธรรมนั้นไม่ได้สำรวม หรือไม่เป็นผู้สงบระงับ อันนี้ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่นักเผยแพร่ต้องผิดพลาดกันมากในเมื่อไปทำงานให้กับศาสนา ซึ่งไม่สามารถที่จะดึงศรัทธาญาติโยมให้แน่นแฟ้นได้ แล้วก็ไม่สามารถที่จะปกครองบุคคลที่เข้ามาศึกษาธรรมะให้อยู่ในระเบียบวินัยได้ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้แสดงธรรม ที่จะต้องเอาระเบียบวินัยตามพุทธบัญญัติมาใช้จึงจะได้ประโยชน์มาก

แล้วอีกอย่างญาติโยมบางท่าน กระผมขอเล่าถวายนะครับ ไม่ใช่ว่าคุยโอ้อวดท่าน

คือในฐานะที่เรามาพบกัน แล้วท่านจะต้องไปเป็นพระวิปัสสนาจารย์ และนำธรรมะนี้ไปเผยแพร่ให้กับญาติโยม ก็อยากจะถวายความคิดเห็นไว้บ้างว่า ควรจะทำอย่างไรที่จะดึงศรัทธาญาติโยมได้ คือเราต้องปฏิบัติแบบประเภทให้อยากน้อยลง หรือว่าดับความอยากตัวเองความอยากนี้ทำให้เสียทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งจะไม่ได้มาทางผลประโยชน์ทางศาสนา

ที่กระผมเคยไป..เราก็ไม่อยากมีลูกศิษย์ เราก็ไม่อยากได้อะไร ใจนั้นอยากจะไปอยู่ที่สงบวิเวก แต่ผลมันตามมาเองครับ ผมไปอยู่ที่ถ้ำหมี จ.สุพรรณบุรี อยู่องค์เดียว พอไปอยู่ได้สองพรรษาก็มีพระตามไปอยู่ด้วยมากขึ้น ผมเห็นว่าสองปีมีพระมากขึ้น จากถ้ำจากป่ากลายมาเป็นวัด ก็เลยมอบหน้าที่ให้องค์อื่นอยู่แทน กระผมเคยไปอยู่ที่ถ้ำกระเปาะ จ.ชุมพร ผมไปอยู่องค์เดียวไปวิเวก ไปอยู่ก็ตั้งใจไปอยู่องค์เดียว ปีแรกก็อยู่ได้องค์เดียว พอปีที่สองพระก็ตามไป ปากต่อปากก็มากขึ้น พอปีที่สามมีพระยี่สิบกว่าองค์ ผมเห็นว่าพระมากก็เลยหนีจากที่นั่น ให้พระที่นั่นอยู่แบ่งครึ่งกัน

แต่ว่าญาติโยมโดยมากเราไม่ได้มุ่งสอนอะไรมาก แต่ก่อนที่เมืองนนท์นะครับ คนกลัวพระกรรมฐานมาก ไม่ยอมนั่งหลับตา พอพระเทศน์ญาติโยมจะกลัวพระเทศน์มากเลย ลงศาลากันหมดเลยครับ คือพระที่ภาคกลางเทศน์จนโยมเบื่อครับ นะโมตัสสะ..ถือคัมภีร์ อ่านคัมภีร์จนโยมเบื่อครับ เมื่อไรก็นิทาน เมื่อไรก็ราชาศัพท์ ซึ่งโยมฟังแล้วก็ไม่รู้เรื่องครับ พระท่านก็กลัวว่าถ้าไม่เทศน์ภาษาบาลีหรือภาษาธรรมกลัวโยมจะหาว่าเราไม่มีภูมิรู้ ก็เลยรักษาภูมิรู้ของตัวเอง เทศน์จนโยมไม่เข้าใจธรรมะ นานๆ เข้าโยมก็เบื่อหมดเลยครับ

ผมไปใหม่ๆ ผมจะสังเกตตอนไปวัดอื่นนะครับ พอโยมมาถวายอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว พอพระบอกว่า เอ้า..ต่อไปนี้เตรียมตัวฟังธรรมนะ

รีบเก็บปิ่นโตลงศาลา รีบกลับบ้านกันเลยครับ ผมจึงรู้ว่า โอ้..โยมกลัวพระเทศน์กันจังเลย น่าสงสารจริงๆ เหลือแต่คนแก่แหละครับที่หนีไม่ทัน แล้วก็ฟังไปหลับไป ผมก็มานึกได้ว่า โอ..พระเทศน์จนโยมกลัวคัมภีร์ เพราะโยมฟังไม่รู้เรื่องผมก็เลยไม่ถือคัมภีร์ครับ คิดว่าทำอย่างไรจะให้โยมฟังเทศน์ได้เพราะว่าอยู่ใกล้กับวัดต่างๆ ที่เขากลัวพระเทศน์ พอวันพระญาติโยมมาทำบุญ เมื่อฉันข้าวเสร็จแล้ว จึงบอกว่า

โยมต่อไปนี้ตั้งใจแผ่เมตตานะ รับพรแผ่เมตตาจากพระ

พอบอกเทศน์เขาก็ต้องเตรียมตัวลงศาลา ถ้าบอกนั่งกรรมฐานเขาก็ต้องเตรียมลงศาลาเหมือนกัน แล้วจะทำอย่างไรจึงจะดึงโยมเขาได้ เพราะโยมกลัวนะครับ บางคนก็อายครับ อายเรื่องนั่งสมาธิบางคนนี่อายมากครับ เมื่อสมัยก่อนนะครับเมื่อสิบกว่าปี ผมก็บอก

เอ้า..โยมเดี๋ยวแผ่เมตตานะ ทำจิตให้เป็นกุศล แล้วจะได้เอาบุญกุศลนี้ให้ถึงญาติได้ ถ้าเราไม่มีสมาธิเราจะไม่สามารถที่จะแผ่บุญกุศลให้ถึงญาติได้ จิตใจเราวอกแวกอย่างนี้ วุ่นวายอย่างนี้แผ่เมตตาไม่ออก ตอนนี้โยมทำใจให้สงบสักห้านาที เราก็เติมตรงนี้แหละครับ ห้านาทีทำอย่างไร

ให้เอาจิตมาอยู่กับลมหายใจของเรา หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ ให้นึกเห็นตัวเอง อย่าให้จิตไปคิดถึงคนอื่น แล้วเราจะทำจิตให้สงบได้พอห้านาทีโยมเริ่มหลับตาเป็นแล้วคราวนี้ พอมาวันหลังๆ ก็เพิ่มสิบห้านาที เพิ่มครึ่งชั่วโมง นานๆ เข้าชั่วโมงหนึ่งไม่หนีครับ พอชั่วโมงหนึ่งไม่หนี พวกขี้เหล้าเมายา พวกกินเหล้าเมายาในวัดนั้นหายหมดเลย กลายเป็นคนมีศีล มีธรรมเลิกดื่มเหล้า เลิกเล่นการพนัน กลายเป็นทายกทายิกานักเสียสละไปเลยครับ พอนั่งกรรมฐานถึงหนึ่งชั่วโมงคนดีเกิดขึ้นในวัดนั้นเลยครับทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชาย ไม่ได้ไปหาคนที่ไหนเข้าวัดหรอกครับ ไม่ต้องไปไล่คนเก่าออกหรอกครับ เอาคนเก่านั้นมาฝึก กลายเป็นคนมีศีล มีทาน

เรื่องเงินเรื่องทองวัดนี้ท่านไม่ต้องกลัวหรอกครับ มีแต่เอามาให้ครับ วัดอื่นปกครองยาก บอกว่า..ทายกกับทายักนี้อยู่คู่กัน พระก็ต้องเก็บเงินไว้เองบ้าง ถ้าไม่อย่างนั้นกลัวทายกไม่ซื่อตรง แต่ตรงกันข้ามครับ สำนักปฏิบัติที่พวกกระผมไปเปิดสาขาทั้งหมดสิบกว่าแห่งนี้ รวมทั้งสำนักของอาจารย์ด้วยก็ยี่สิบกว่าแห่ง ทายกมีแต่ผู้ให้ครับมีแต่คนซื่อ มีแต่คนศรัทธา ไม่มีคนจะไปกินไปโกงเงินวัดหรอกครับ มีแต่อยากจะทำบุญ อยากจะเสียสละ.

อบรมพระวิปัสสนาจารย์
หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
คัดลอกมาจาก http://www.vimokkha.com/landham1.htm

คาถาอะไรก็สู้ใจไม่ได้

ในขณะที่รอขึ้นเครื่องบินที่สนามบินเชียงใหม่ ได้กราบขอเมตตาท่านครูบาเจ้า สอนคาถาสั้นๆ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินสักบทหนึ่ง

ท่านครูบาเจ้าได้สอนคาถาให้สามคำคือ อะ อิ อุ พอพูดจบท่านบอกว่า

“สามคำยังยาวอยู่ สู้ใจไม่ได้”

ท่านพูดว่า “ตัวอย่าง พ่อคิดถึงลูก ก็ถึงได้ทันที อีกสองชั่วโมงลูกก็โผล่มาให้เห็นหน้าที่วัด”

ทั้งๆ ที่บ้านผู้เขียนอยู่ห่างจากวัดถึง ๑๕๐ กิโลเมตร แสดงว่าคาถาใจไวกว่ารถ

เกร็ดประวัติหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-chaiya-wongsa/kb-chaiya-wongsa-hist-09.htm

กุศลกรรมบถ ๑๐ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นทางไปสู่สวรรค์

สมัยก่อนมีครอบครัวหนึ่ง พ่อสอนลูกสาวลูกชายและภรรยาให้ถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ไม่ทำลายชีวิต ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลถคอยจ้องอยากได้ของเขา ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา เห็นชอบตามธรรมะ และให้ตั้งอยู่ในการเสียสละ รู้จักสงบใจแล้วคิดว่าความสงบใจนั้นเป็นสุขก็ปรารถแต่เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตายว่า คนเราหนีไม่พ้นให้รู้จักคำว่า “อภัย สงสาร และเมตตา” เขาก็ถือกันทั้งหมดเลย

ทุกวันก็คุยกันเรื่องกุศลกรรมบถ ๑๐ มั่นใจว่าคนถือกุศลกรรมบถ ๑๐ นี้ ตายแล้วไปเป็นเทวดาทุกคน ไม่ตกนรก ธรรมอันนี้เป็นธรรมดีทำให้จิตใจไม่เดือดร้อน คือ มองโลกในแง่ดี มีแต่เมตตาสงสาร ถือว่ามนุษย์นี่มาอาศัยอยู่ชั่วคราว เป็นช่องเรือนชานแก้วแหวนเงินทอง ร่างกายเรานี้ก็อยู่ไม่เกิน ๑๐๐ ปี ก็ต้องทิ้งทุกคน แต่สิ่งที่เอาไปได้คือความดีในใจ เมื่อคิดอย่างนี้เขาก็ไม่หลง จึงมุ่งทำแต่ความดี ต่อมาลูกชายไปไถนา ถูกงูกัดตาย แม่ไปส่งข้าวรู้ว่า ลูกชายตาย จึงบอกคนใช้ว่า

“ไม่ต้องเอาข้าวมาส่งอีกแล้วนะ ไปบอกนายเอ็งเถอะ ข้าวนี้ฉันกินคนเดียวก็พอ อีกคนหนึ่งไม่กินแล้ว”

คนใช้ก็ไปบอกทางบ้านตามนั้น เขาก็รู้เลยว่าลูกชายตายแล้ว จึงไม่ให้เอาข้าวไปส่ง เขาก็มาหมดทั้งครอบครัวเลย ทั้งภรรยา พ่อ พี่น้อง ก็นำศพไปเผาชายทุ่ง พวกเขาคิดว่าลูกชายไปดี แต่ไม่รู้ว่าไปไหน เพราะเขามั่นอยู่ในศีล ๕ อยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ พ่อก็จัดการเอาแก่นไม้แห้งๆ มาเผาลูกที่ชายทุ่งแล้วเอาไม้ไผ่กระทุ้งร่างกายนั้นให้มันแตกออกเพื่อไฟจะได้ลุกไหม้ สมัยก่อนเผากันแบบนี้ พ่อก็คอยแหย่ไฟเอาไส้พุงตับปอดใหม้ไปเรื่อยๆ

ส่วนลูกชายเมื่อตายแล้วไปเป็นเทวดา ความจริงไม่ได้ห่วงใยอะไรมากมาย เพียงแต่อยากแสดงว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ นี่ น่าจะถือไว้ตลอดทุกบ้าน จึงจำแลงร่างเป็นชายคนหนึ่งมายืนอยู่ชายทุ่งและถามว่า

“ลุงทำอะไร?”
“เผาศพ”
“เผาศพใคร?”
“เผาศพลูกชาย”
“ทำไมเผาศพลูกชายทำเหมือนไม่รักเลย กระทุ้งเอาๆ ตับไตไส้พุงไหลออกหมด เกลียดโกรธอะไรเขาหรือ?”
“เปล่า ไม่ได้เกลียด ไม่ได้โกรธเลย แต่ทำตามหน้าที่ของพ่อที่ต้องทำอย่างนี้กับลูก”
“แล้วไม่เสียใจหรือ?”
“เสียใจหรือ?… ถ้าเสียใจเขาฟื้นคืนมาได้ก็จะเสียใจ ถ้าร้องไห้แล้วเขาฟื้นคืนได้ก็จะร้องไห้แม้น้ำตาเป็นสายเลือดก็จะร้อง ถ้าลูกชายฟื้นแต่นี่คิดแล้วว่าเขาตายไปดีร้องไปก็ไม่เกิดประโยชน์จึงไม่อยากจะร้อง เผาให้เขาไปเพราะร่างกายนี้เขาทิ้งแล้ว แต่จิตใจเขาไปดี ลูกฉันต้องไปเกิดดี อย่างน้อยก็ต้องไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าเทวดนั้นมีจริง”

พอถามแม่ว่า “ทำไมลูกตายทั้งคนไม่เห็นร้องไห้ล่ะ?”
นางตอบว่า “ร้องก็ไม่มีประโยชน์อะไร เก็บน้ำตาไว้ดีกว่า เพราะเสียใจเขาก็ไม่ฟื้นคืนมา จึงไม่อยากร้องไห้ เชื่อว่า ลูกเราตายไปดี รัก! ไม่ใช่ไม่รัก แต่ไม่อยากจะเสียใจ เพราะคิดว่ายังไง เขาก็ไปดี”

แล้วก็หันมาถามภรรยาว่า “เป็นอะไรกัน?”
“เป็นภรรยา” นางตอบ
“สามีตายทั้งคนไม่เห็นมีน้ำตาเลยไม่รักหรือ?”
ชายคนนั้นถามขึ้นอีก
นางตอบว่า “รัก รักที่สุดในชีวิต ไม่เคยรักใครเท่าสามี”
“แล้วทำไมไม่ร้องไห้?”
“ร้องเขาก็ไม่ฟื้นคืนมา เหมือนเด็กๆ ร้องเอาเดือนเอาตะวัน เดือนมันก็ไม่ตกลงมา เหมือนหม้อที่แตก ร้องไปมันก็ไม่ติดอย่างเก่า แล้วร้องไปทำไม เราก็ทำจิตใจของเราให้เป็นบุญกุศลให้เขาไปดี”

เมื่อฟังอย่างนี้แล้ว ชายคนนั้นจึงถามพี่น้องทุกๆ คน ก็ได้คำตอบเดียวกันหมด ทุกคนต่างกลั้นน้ำตาด้วยความรู้ ความเข้าใจว่า เขาตายไปดี คิดว่าร้องไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ทำจิตใจเของเราเศร้าหมองเปล่าๆ และคนตายก็จะไม่ได้รับบุญกุศลอะไรจากเรา ทำให้วิญญาณของเขาเศร้าหมองทุกคนเลยไม่ร้อง เพราะเชื่อว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ ที่ถือกันมาแต่เล็กจนตายนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่จะนำวิญญาณไปสู่ที่ดี ทุกคนมั่นใจอย่างนั้น

ชายผู้นั้นจึงสาธุแล้วจำแลงกายเป็นเทวดาบอกว่า “ฉันนี่แหละคนตายล่ะ ! พ่อแม่ทำไว้เถอะนะ กุศลกรรมบถ ๑๐ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้เป็นทางไปสู่สวรรค์ พอลูกตายลูกก็นึกถึงบุญที่ทำไว้ ก็ไม่มีเวทนาเจ็บปวดเลย”

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ให้ฟังว่า สิ่งที่ทำไว้นั้น เป็นเครื่องรองรับ เพราะคนเราตายแต่เพียงร่างกาย ใจนั้นยังไม่ตาย ถ้าเราคิดก็คิดว่าเขาไปดี

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
คัดลอกมาจากหนังสือ “คิดไม่ถึง”